การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

Authors

  • นุชจรีย์ ชุมพินิจ
  • สุทธีพร มูลศาสตร์

Keywords:

การพัฒนา, รูปแบบการนิเทศทางคลินิก, หัวหน้าหอผู้ป่วย, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, Development, Clinical Supervision Model, Head Nurse, Bhumibol Adulyadej Hospital

Abstract

           การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิกและความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก วิธีการศึกษาโดย 1) สังเคราะห์สภาพการณ์การนิเทศทางคลินิก 2) ออกแบบ 3)ทดลองใช้ 4) ประเมินผล และ 5) สรุปและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศทางคลินิก มีตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มละ 22 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วย 1) แนวคำถามในการระดมสมอง 2) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก 3) แบบสอบถามความรู้และความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ทั้ง 3 ส่วนมีค่า CVI อยู่ในช่วง .80 - .90 ค่า KR-20 เท่ากับ .74 และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ครอนบาคเท่ากัน คือ .94 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที
           ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกมีกระบวนการตามองค์ประกอบการนิเทศทางคลินิกของ Proctor คือ การนิเทศเพื่อสร้างการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อสนับสนุนเชิงวิชาชีพ และการนิเทศเพื่อปฏิบัติงานตามมาตรฐาน 2) ความรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกไม่แตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจก่อนและหลังใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

THE DEVELOPMENT OF A CLINICAL SUPERVISION MODEL FOR HEAD NURSES AT BHUMIBOL ADULYADEJ HOSPITAL

Abstract

           The purposes of the research and development were: 1) to develop a Clinical Supervision Model (CSM) for head nurses in Bhumibol Adulyadej Hospital, 2) to compare knowledge and satisfaction of head nurses before and after model implementation, and 3) to compare satisfaction of registered nurses before and after model implementation.
The study process consisted: 1) situation synthesize related to clinical supervision, 2) design the CSM, 3) tryout the CSM, 4) evaluate the CSM, and 5) conclude and improve the CSM. The sample included two groups: head nurses (22) and registered nurses (22). They were selected by the purposive sampling. The research tools were 1) question guideline for brain storming, 2) the CSM application handbook, and 3) knowledge and satisfaction questionnaires for head nurses and satisfaction questionnaires for registered nurses which their CVI were in the range of .80 to .90; while, the KR-20 was .74 and Cronbach’s alpha coefficient were .94, respectively. Research data was analyzed by descriptive statistics and t-test.
           The result revealed as follows. 1) The CSM consisted of the process according to formative supervision, restorative supervision, and normative supervision. 2) There was no significant difference of head nurse’s knowledge between before and after the CSM implementation; however, head nurses satisfied the CSM significantly increase after implementing (p< .05). and 3) Registered nurses satisfied the CSM significantly increase after implementing (p< .05).




Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-12-07

How to Cite

ชุมพินิจ น., & มูลศาสตร์ ส. (2015). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 7(2), 77–89. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/43343

Issue

Section

Research Articles