ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของตำรวจจราจรภูธร

Authors

  • ประทุมรัตน์ โฆษิตกุล
  • สิริรัตน์ ลีลาจรัส
  • อรสา พันธ์ภักดี

Keywords:

สมรรถภาพปอด, ตำรวจจราจร, สมรรถภาพปอดของตำรวจจราจร, Pulmonary function, Provincial traffic policemen

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research Design) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data analysis) จากการตรวจสุขภาพและผลการตรวจสมรรถภาพปอด(ค่า FEV1 ค่า FVC, ค่าFEV1/FVC) ตำรวจจราจรในโครงการตรวจสุขภาพตำรวจ กลุ่มงานจราจรภูธร จังหวัดเชียงใหม่ประจำปีงบประมาณ 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย และระยะเวลาที่ตำรวจจราจรปฏิบัติหน้าที่เป็นตำรวจจราจร กับสมรรถภาพปอดของตำรวจจราจรภูธร จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

            ผลการวิจัยพบว่าตำรวจจราจรมีสมรรถภาพปอดที่ผิดปกติประมาณร้อยละ 10 จากสถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์ทางลบในขนาดปานกลางกับ FEV1 และ FVC และสัมพันธ์ในทางลบในขนาดต่ำกับ FEV1/FVC ratio อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.479, p<.01, r=-.333, p<.01 และ r=-.240, p<.01 ตามลำดับ) ดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ในทางลบในขนาดต่ำกับ FEV1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.170, p<.05) ปริมาณการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ทางลบในขนาดปานกลางกับ FEV1/FVC ratio อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.350, p<.05) และระยะเวลาที่ตำรวจจราจรปฏิบัติหน้าที่เป็นตำรวจจราจรมีความสัมพันธ์ทางลบในขนาดปานกลางกับ FEV1 และ FVC และสัมพันธ์ในทางลบในขนาดต่ำกับ FEV1/FVC ratio อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.398, p<.01, r=-.312, p<.01 และr=-.161, p<.05 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเส้นรอบเอวและการออกกำลังกายกับค่าสมรรถภาพปอด ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าตำรวจจราจรส่วนหนึ่งมีความผิดปกติของสมรรถภาพปอด และมีปัจจัยเสี่ยงด้านอายุ ดัชนีมวลกาย ปริมาณการสูบบุหรี่ และระยะเวลาที่ตำรวจจราจรปฏิบัติหน้าที่เป็นตำรวจจราจร ผลการศึกษาที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการติดตามเฝ้าระวัง วางแผนและดูแลสุขภาพตำรวจจราจรภูธร จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

 

 

SELECTED FACTORS RELATED TO PULMONARY FUNCTION OF PROVINCIAL TRAFFIC POLICEMEN


Abstract

          This descriptive research study aimed to investigate the relationships between selected factors related to pulmonary function (FEV1 FVC, and the ratio of FEV1/FVC) of provincial traffic policemen (PTPs), using secondary data of the project of the annual health care screening for health promotion and risk reduction, Dararassamee Hospital, Chiangmai (2013).  One hundred and sixty-seven PTPs had annual health care screening with the pulmonary function test. The average age was 47±7.31 years.  Descriptive and correlational analyses were used to analyze data.  The results revealed that approximately 10 percent of provincial traffic policemen had abnormality of pulmonary function.  Correlational analyses showed that age was negatively related to forced expiratory volume in one second (FEV1) and forced vital capacity (FVC) and FEV1/FVC ratio.  Body mass index was negatively related to FEV1. The quantification of smoking was negatively related to FEV1/FVC ratio.  The duration of work for PTPs was negatively related to all pulmonary function tests. However, there were no relationships of waist circumference and exercise with pulmonary function.  The findings of the study indicated that some PTPs had pulmonary disorders with risk factors comprised of age, body mass index, quantification of smoking, and duration of work in PTPs. The results of the study can be used as the primary data in primary surveillance and taking care of PTPs.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-12-07

How to Cite

โฆษิตกุล ป., ลีลาจรัส ส., & พันธ์ภักดี อ. (2015). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของตำรวจจราจรภูธร. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 7(2), 53–63. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/43341

Issue

Section

Research Articles