ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถ ด้านความปลอดภัยกับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร
Keywords:
การจัดการความปลอดภัย, ทักษะในการสื่อสาร, ขีดความสามารถด้านความปลอดภัย, Patient safety management, Communication skills, Safety competencyAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัย และการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำ การ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัย กับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามทักษะในการสื่อสาร (3) แบบสอบถามขีดความสามารถด้านความปลอดภัย และ (4) แบบสอบถามการจัดการความปลอดภัยของพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามทั้งฉบับ (S-CVI) ส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ .80, .89 และ .88 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ .93, .93, และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัยและการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการโดยรวมอยู่ในระดับสูง และ (2) ทักษะในการสื่อสารและขีดความสามารถด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการในระดับปานกลาง และระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.419, 0.516 ตามลำดับ)
The Relationships between Communication Skills, Safety Competency, and Patient Safety Management of Staff Nurses at an Autonomous University Hospital in Bangkok Metropolis.
Abstract
The purposes of this research were: (1) to study the level of communication skills safety competency, and patient safety management, (2) to study relationships between communication skills, safety competency, and patient safety management, and (3) to explore factors predicting the patient safety management of staff nurses at an autonomous university hospital in Bangkok metropolis. The population of this study comprised 180 staff nurses who worked at Inpatient units in an autonomous university hospital in Bangkok. Questionnaires, developed by the researcher, were used as research instruments consisting of four parts: (1) personal data form ,(2) communication skills, (3) safety competency , and (4) patient safety management . Content validity was verified by five experts. The Scale Content Validity Index (S-CVI)of the second to fourth parts of questionnaires were .80, .89, and .88 respectively. The Cronbach’s alpha reliability coefficients of the second to the fourth parts of questionnaires were .93, .93, and .89 respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient and enter multiple regressions analysis.
The research findings were as follows: (1) Staff nurses rated their communication skills, safety competency, and patient safety management at the high level. (2) There were significantly positive correlations between communication skills (r = 0.42, p< .05) and safety competency (r = 0.52, p< .05) with patient safety management at the moderate and the high level respectively, (3) Both communication skills and safety competency accounted for 27.4% of variance of patient safety management and of staff nurses (R2 = .274).
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ