ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาต่ออาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Keywords:
การจัดการตนเอง, อาการหายใจลำบาก, ฮาร์โมนิกา, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ, Self-manangement, Dyspnea, Harmonica, COPD, Older personsAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาและระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาแผนกโรคระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกา และแบบวัดระดับอาการหายใจลำบาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยระดับอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ค่าเฉลี่ยระดับอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Effect of Self Management Program with Harmonica Breathing Exercise on Dyspnea of Older Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Disease.
Abstract
The purposes of this quasi – experimental research were to compare dyspnea of older persons with COPD among the experimental group before – after receiving the self management program with harmonica breathing exercise, and to compare dyspnea of older persons with COPD between the experimental group and control group. The sample were 40 men and women aged 60 years and over with COPD attending chest clinic at Somdech Phrapinklao hospital. They were equally random assigned into control group and experimental group. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the self management program with harmonica breathing exercise for five weeks. Research instruments were the self management program with harmonica breathing exercise and dyspnea modified borg’s scale. The instruments were tested to the content validity by 5 experts. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.
The research findings were as follows:
1. The mean score of dyspnea symtom of older persons with COPD after receiving the program was significantly lower than before receiving the program at .05.
2. The mean score of dyspnea symtom of older persons with COPD cases in the experimental group was significantly lower than the control group at .05.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ