ผลของกิจกรรมบำบัดต่อความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง

Authors

  • วัลลภา อันดารา
  • ปภสร โรจน์ขจรนภาลัย
  • อุบลรัตน์ สิหเสนี
  • ปัทมา วงค์นิธิกุล

Keywords:

กิจกรรมบำบัด, ความเครียด, สตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง, Activity therapy, Stress, Women abused

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายทางจิตใจ หรือทางเพศ ณ บ้านพักฉุกเฉิน ที่มีอายุในช่วง 15-59 ปี จำนวน 52 คน คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.91 และกิจกรรมบำบัดที่ประกอบด้วยกิจกรรมนันทนาการบำบัดและกิจกรรมการให้ความรู้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Dependent t-test)

       ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
       1. ระดับคะแนนความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงก่อนเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดมีคะแนนความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.71 และระดับคะแนนความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดมีคะแนนความเครียดลดลงอยู่ในระดับปกติหรือไม่เครียด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.50
       2. คะแนนความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

 

The Effect of Activity Therapy on Stress in Women Abused.

 

Abstract

       The purpose of this quasi-experimental research (one group pre-post test design) were to study and compare the stress scores in women abused before and after participated in activity therapy. Samples were selected by purposive random sampling technique, which consisted of fifty two women who had been physical abused, mental abused or sexual abused at Emergency home, ages 15-59 years old. The research instruments were The stress Test 20 (ST-20) by Department of
Mental Health, which had been tested for content validity and reliability with Cronbach’s alpha co-efficient of 0.91 and the activity therapy consisted of recreational therapy and educational therapy which had been tested for content validity from three expert psychiatric nurses. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and dependent t-test.

       The research findings were as follows:
       1. The stress level of women abused prior to activity therapy is slightly higher than normal scores. Mean scores were 20.71. The stress level of women abused after participated in activity therapy had lower stress scores or no stress. Mean scores were 15.50.
       2. The Stress scores of women abused after participated in the activity therapy were significantly lower than before participated in the activity therapy at the 0.05 level.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-10-18

How to Cite

อันดารา ว., โรจน์ขจรนภาลัย ป., สิหเสนี อ., & วงค์นิธิกุล ป. (2015). ผลของกิจกรรมบำบัดต่อความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 7(1), 141–152. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/41106

Issue

Section

Research Articles