ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

Authors

  • เอมิกา กลยนี
  • เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
  • อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Keywords:

ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, คุณภาพชีวิต, Schizophrenic patients’ caregivers, Quality of life

Abstract

       การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ รายได้ ระยะเวลาการดูแลภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ความเข้มแข็งในการมองโลก ภาระในการดูแลผู้ป่วยและการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จำนวน 143 คน ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลราชบุรีและโรงพยาบาล เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความเข้มแข็งในการมองโลก 3) แบบวัดภาวะสุขภาพ 4) แบบวัดภาระในการดูแล 5) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และ 6) แบบวัดคุณภาพชีวิต จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทางบวก คือ ความเข้มแข็งในการมองโลก, ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (r= .583, .564 และ .605 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตได้แก่ อายุ และภาระในการดูแลผู้ป่วย (r = -.216 และ -.629) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ดูแล คือ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย (r = -.115, p>.05) และรายได้ของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (\chi ^{2} = 10.056) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับปานกลาง ควรนำปัจจัยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทให้มีระดับที่สูงขึ้น

 

 

 

Selected Factors Relating to Quality of Life among Caregivers Caring for Patients with Schizophrenia at Home.

 

Abstract

       The purposes of this descriptive research were to study the level of quality of life among caregivers caring for patients with schizophrenia at home and to study the relationships between age, income, duration of care, sense of coherence, health status,
caregiver burden and social support.The subjects were 143 schizophrenic patients’ caregivers who took their patients to follow up in Out Patients Department of Ratchaburi Hospital, Nakhonprathom Hospital and Chaoprayayomaraj Hospital. The research instruments were the personal data record, sense of coherence questionnaires, Short Form 36 Health survey (SF-36), caregiver burden scale, social support questionnaires and World Health Organization Quality Of Life-BREF (WHOQOL-BREF-THAI). Data were analyzed by using Percentage, Mean, Standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation and Chi-Square. Statistical significance level was at .05. Major findings were as follows the level of quality of life of schizophrenic patients’ caregiver was at moderate level. (68.5%).
Sense of coherence, health status and social support of schizophrenic patients’ caregivers were positively correlated at moderate level (r= .583, .564 and .605 respectively), Age and
caregiver burden were negatively correlated at moderate level (r= -.216 and -.629), Income of schizophrenic patients’ caregiver was correlated to quality of life of schizophrenic patients’ caregiver at level of .05. (\chi ^{2} =10.056) and Duration of care was not correlated to quality of life of schizophrenic patients’ caregiver.
       Conclusion : The level of quality of life of schizophrenic patients’ caregiver was at moderate level. Factors of this study is to develop a program to improve the quality of life of Schizophrenic patients’ caregivers have higher levels.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-10-18

How to Cite

กลยนี เ., แดงด้อมยุทธ์ เ., & อ่วมตานี อ. (2015). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 7(1), 128–140. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/41105

Issue

Section

Research Articles