ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่
Keywords:
ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย, ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต้อกระจกวัยผู้ใหญ่, Concrete - objective information, Anxiety in preoperative cataract adult patientsAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่ภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์และเพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่ ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในกลุ่มตัวอย่างที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย เพศและอายุ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน นำแบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .80 นำแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจกมาคำนวณหาความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .93 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ความวิตกกังวลของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่ในกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของความวิตกกังวลของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความวิตกกังวลของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่ กลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The Effect of Concrete - Objective Information and Giving Information Through Social Media on Anxiety in Preoperative Cataract Adult Patients.
Abstract
The purpose of this quasi-experimental research were to compare the anxiety in preoperative cataract adult patients in the experimental group before and after giving concrete–objective information and giving information through social media and to compare the anxiety in preoperative cataract adult patients between the experimental group after giving concrete–objective information and giving information through social media and the routine nursing care group. The samples consisted of 40 participants from the eye center OPD clinic from one private hospital in Bangkok and divided into experimental
group and control group with 20 participants in each group. The experimental group and the control group were matched pair in term of sex and age. The control group received routine nursing care while the experimental group received the concrete–objective information and giving information through social media. The instruments were tested, and the content validity of knowledge about cataract surgery instrument was .80 and reliability of state anxiety and knowledge about cataract surgery instrument were .93 and .91 respectively. Data were analyzed by mean, standard deviation and t-test
The major findings were as follows:
1. The anxiety in preoperative cataract adult patients in the experimental group after giving concrete–objective information and giving information through social media was significantly lower than those before receiving the program at the level of .01.
2. The anxiety in preoperative cataract adult patients in the experimental group after receiving concrete–objective information and giving information through social media was significantly lower than those receiving routine nursing care group at the level of .01.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ