ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจนครบาล

Authors

  • อารญา โถวรุ่งเรือง
  • ส่งศรี รัตนมาลาวงศ์
  • กานดามณี พานแสง
  • ไฉไล เที่ยงกมล

Keywords:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาล, Factors Relating to Smoking, Smoking Behavior, Metropolitan Police Officer

Abstract

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยชีวสังคม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาลตามทฤษฎี Precede Model ของ Green, Marshall, Signid, & Kay (1980) ตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และคัดเลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และกฎหมายบุหรี่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่ ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม และแบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หาคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้ด้วย KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .92 - .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษากับพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยการวิเคราะห์ ไค-สแควร์ และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

             ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} = 1.46, SD = 0.66 ) อายุ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาปฏิบัติงาน ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่และกฎหมายบุหรี่ ปัจจัยนำได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่และกฎหมายบุหรี่ ปัจจัยเอื้อได้แก่ หน่วยงานมีสถานที่ให้สูบบุหรี่ สถานที่สูบบุหรี่มีหลายแห่ง และมีป้ายห้ามสูบบุหรี่ ปัจจัยเสริมคือการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุหรี่จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ด้านกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ได้รับจากผู้ร่วมงานและสื่อประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจนครบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

FACTORS AFFECTING SMOKING BEHAVIOR IN POLICE OFFICERS:

CASE STUDY OF METROPOLITAN POLICE BUREAU

 

Abstract

             This descriptive research aimed to study the relationship among the bio-social factors, predisposing factors, enabling factors, and reinforcing factors, and the smoking behavior of Metropolitan Police Officer. Within the context of Precede Model of Green, Marshall, Signid, & Kay (1980). The participants were 400 police officer selected from metropolitan police through stratified random sampling and simple random method .The research instruments consisted of biosocial factors, knowledge of smoking and smoking law, factors related smoking behavior such as predisposing factors, enabling factors, and reinforcing factors, and the smoking behavior. The content validity by 3 experts was done and reliability for the test by KR-20 (Kuder-Richardson formula 20) was at .92. The overall reliability alpha cronbach coefficient ranging between .92 - .94. Data were analyzed using the descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation. The relationship among factors that related to smoking behavior were analyzed using Chi-Square and Pearson’s product moment correlation coefficient.

             The finding indicated that the smoking behaviors of Metropolitan Police Officer was found to be at a medium level(\bar{x} = 1.46, SD= 0.66 )The factors positively related to smoking behaviors were age, salary, working time, attitude toward smoking and law, and all of three predictive factors such as smoking areas in office, many places for smoking, non smoking areas and two reinforcing factors such as smoking information from public relation, smoking law from colleague and public relation at the significance level of .05.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-10-04

How to Cite

โถวรุ่งเรือง อ., รัตนมาลาวงศ์ ส., พานแสง ก., & เที่ยงกมล ไ. (2015). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจนครบาล. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 7(2), 30–39. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/40390

Issue

Section

Research Articles