ต้นทุนชีวิตของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ 32 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • บุษยา เลียบทวี
  • จรัสศรี ลัยทอง
  • ทัศนันท์ กาบแก้ว
  • ศิริพรรณ พักศาลา

Keywords:

ต้นทุนชีวิต, นักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล, Development assets, practical nurse students

Abstract

บทคัดย่อ  

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาต้นทุนชีวิตของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของต้นทุนชีวิตก่อนและหลังเข้าศึกษาในหลักสูตร ประชากรเป็นนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลรุ่นที่ 32 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 158 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 48 ข้อ แบ่งเป็น 5 ประเด็นหลัก  ประกอบด้วย พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.89 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง  ครั้งที่ 1 วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ครั้งที่ 2 วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติแบบบรรยาย และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนต้นทุนชีวิตโดยใช้สถิติ Paired T-Test ทดสอบข้อตกลงเบื้องต้น โดยใช้สถิติ Kolmogorov – Siminrow – Test

ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า พลังสร้างปัญญาก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ส่วนพลังในด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้หลักสูตรควรปรับปรุง หรือค้นหากลยุทธ์ในการเพิ่มพลัง โดยเฉพาะด้านพลังสร้างปัญญา และในด้านอื่นๆ ให้กับนักศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมาตรฐานในการศึกษาในหลักสูตรนี้        

 

 

 

Development Assets of Practical Nurse Students, Class 32th Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University.

Budsya Liabthawee             Jarusri laithong   

Thasnun Kabkaew               Siripan Paksala

Abstract

This study was based on a comparative research design with the objectives of studying the development assets of practical nurse students and comparing the average scores of the development assets of students before and after study. The population for the study comprised 158 practical nurse students, class 32th, Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University, Academic year 2012. Data was collected by using a questionnaire containing 48 items divided into five main topics composed of personal strength, family strength, wisdom-building strength, peer and activity strength and community strength .This device had reliability as 0.89.  Data were collected on two occasions: on 2 July 2012 and on 31 May 2013. The demographic data were analyzed by using descriptive statistics and comparing the mean values for the development assets scores by using paired t-test statistics.  The normality assumption was carried out by the Kolmogorov – Siminrow – Test.

The results were found that the pre- and post-study wisdom-building strength was statistical significant difference with the post-study scores were lower than the pre-study scores. For strengths in other areas, there were no statistical significant differences.  According to this research findings, the curriculum should be developed and improved strategies to enhance strengths, particularly in terms of wisdom-building strength to students and also increase the educational efficiency and standards of this curriculum.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-01-02

How to Cite

เลียบทวี บ., ลัยทอง จ., กาบแก้ว ท., & พักศาลา ศ. (2015). ต้นทุนชีวิตของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ 32 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 6(2), 168–175. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/27830

Issue

Section

Research Articles