ประโยชน์และอุปสรรคของการฝึกสะท้อนคิดในนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • ลัดดา เถียมวงศ์
  • จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์
  • ไมเคล เอส แมคมานัส
  • จอม สุวรรณโณ

Keywords:

การฝึกสะท้อนคิด, นักศึกษาพยาบาล, ปฏิบัติการพยาบาล, ประโยชน์, อุปสรรค, Reflective practice, Nursing Students, Nursing practice, Usefulness, Barrier

Abstract

บทคัดย่อ

แม้ว่าจะมีการใช้การสะท้อนคิดในการจัดการศึกษาพยาบาล แต่งานวิจัยเพื่อนำเสนอประโยชน์ของการฝึกสะท้อนคิดยังไม่มีในประเทศไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์และอุปสรรคของการฝึกสะท้อนคิดจากมุมมองของนักศึกษาพยาบาล โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 76 คน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินประโยชน์ของการฝึกสะท้อนคิด ที่พัฒนาโดย Chong (2009) และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและทดสอบคุณสมบัติความเชื่อมั่น

ผลการศึกษาพบว่า ประโยชน์ของการฝึกสะท้อนคิดของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.45-2.85 ในขณะที่การรับรู้ถึงอุปสรรคของการฝึกสะท้อนคิดมีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.63-2.34 และ การรับรู้ถึงความเหมาะสมของการฝึกสะท้อนคิดค่าคะแนนเฉลี่ย 2.01-2.82 นอกจากนี้ประโยชน์สูงสุดของการฝึกสะท้อนคิด ห้าอันดับแรก ได้แก่ 1) ช่วยให้นักศึกษาสามารถทบทวนประสบการณ์ทั้งในแง่บวกและลบ 2) ช่วยให้นักศึกษาสามารถมองสถานการณ์ทางคลินิกในแง่มุมที่หลากหลายและแตกต่างออกไป      3) ช่วยให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ 4) ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น และ 5) ช่วยให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น จะเห็นได้ว่าการฝึกสะท้อนคิดมีกระบวนการฝึกฝนที่จะทำให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประสบการณ์ทางคลินิกในเชิงลึกและหลากหลาย เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งนี้การฝึกสะท้อนคิดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมการคิดวิเคราะห์ตนเองและการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล จึงควรที่จะนำไปใช้ในหลักสูตร ซึ่งผลการค้นพบจากการศึกษานำร่องนี้เป็นแนวทางพื้นฐานเพื่อการพัฒนาโปรแกรมเชื่อมต่อความรู้สู่การปฏิบัติโดยใช้การฝึกสะท้อนคิด ซึ่งเป็นความท้าทายของวิชาชีพพยาบาลที่จะหาวิธีการจัดการศึกษาที่สามารถเชื่อมต่อทฤษฏีสู่การปฏิบัติ เพื่อให้สามารถผลิตพยาบาลวิชาชีพที่สามารถให้การดูแลผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริง

 

 

 

Usefulness And Barrier Of Reflective Practice In Nursing Students

               Ladda Thiamwong, PhD.     Jiraporn Sonpaveerawong, PhD.

              Michael S. McManus, PhD. Jom Suwanno, PhD.

Abstract

Even though reflective practice was used in nursing education, but there was no research report about a usefulness of reflective practice in Thailand. The purpose of this study was to identify a usefulness and barrier of reflective practice from nursing students’ perspectives. Seventy six of fourth year nursing students at School of Nursing, Walailak University completed a questionnaire which developed by Chong (2009), translated into Thai version and tested reliability. 

Results revealed the fourth year students found reflective practice useful to them with

a mean score of 2.45-2.85, despite the perceived barrier to good reflective practice with a mean of 1.63-2.34. The perception on the appropriateness of reflective practice was 2.01-2.82. In addition, the usefulness of reflective practice was: view both negative and positive clinical experiences; (ii) view clinical situations from different perspectives; (iii) exaggerate to learn; (iv) motivate self-directed learning; and (v) foster responsibility. It was demonstrated that a process of reflective practice encourages nursing students to analyze learning experiences from clinical practice with depth and variety and creates critical thinking. In addition, reflective practice is effective tool to promote thoughtful self-analysis, improve professional practice, and should be a requirement of nursing courses. The finding of this study is a basic guideline for developing a collaborative program integrating theoretical knowledge and clinical practice of nursing students through reflective practice. Furthermore, a major challenge to the nursing profession is to find ways of merging theory and practice in the delivery of nursing education and patient care.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-02-02

How to Cite

เถียมวงศ์ ล., สรรพวีรวงศ์ จ., เอส แมคมานัส ไ., & สุวรรณโณ จ. (2015). ประโยชน์และอุปสรรคของการฝึกสะท้อนคิดในนักศึกษาพยาบาล. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 6(2), 121–133. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/27826

Issue

Section

Research Articles