ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

Authors

  • วิชชุตา พุ่มจันทร์
  • ชนกพร จิตปัญญา
  • ศิริพันธุ์ สาสัตย์

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะซึมเศร้า, การสนับสนุนทางสังคม, การสื่อสาร, การรู้คิด, เผชิญปัญหา, Post acute stroke, Depression, Social support, Communication, Cognitive, Coping

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการสื่อสาร การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด และกลวิธีการเผชิญปัญหา ตัวอย่างคือผู้ป่วยภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน จำนวน 170 คน ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการสื่อสาร การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด กลวิธีการเผชิญปัญหา และแบบประเมินภาวะสุขภาพ 9 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมิน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87, .84, .94, .71, .89 และ.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ป่วยภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ร้อยละ 42.9 มีภาวะซึมเศร้าใน

ระดับเล็กน้อย  (x = 5.37, SD=3.45)

2. การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการสื่อสาร การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด และกลวิธีการเผชิญปัญหามีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้า      (r= -.409, -.174, -.594, -.475 และ -.075 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

Selected Factors Related to Depression in Post Acute Stroke Patients

Vitchuta Pumchan   Chanokporn Jitpanya, Ph.D.   

Captain Siriphan Sasat, Ph.D.

Abstract

The purpose of this study was to examine the relationships among factors related to depression in acute stroke patients including social support, activities daily living, communication, cognitive function and coping strategies. The participants were 170 outpatients with post acute stroke, using a multistage sampling methodology. Questionnaires were composed of demographic information, Social support, Activities of Daily Living, Communication ability, Cognitive function, Coping strategies and Patient Health Questionnaire-9 (PHQ 9). All were validated by four experts. The Cronbach’s alpha coefficients were .87, .84, .94, .71, .89 and .90, respectively. Descriptive statistics, Chi-square and Pearson’s product moment correlation were used for statistical analysis.

The major findings were presented as follows:

            1. 42.9% of post acute stroke patients had mild depression (x = 5.37, SD=3.45).     

            2. Social support, Activities of Daily Living, Communication ability, Cognitive function and Coping strategies were significantly negative correlated with depression (r=-.409, -.174-.594,     -.475 and -.075, respectively)

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-01-02

How to Cite

พุ่มจันทร์ ว., จิตปัญญา ช., & สาสัตย์ ศ. (2015). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 6(2), 33–43. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/27819

Issue

Section

Research Articles