ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Authors

  • สมสุข ภาณุรัตน์ อาจารย์ (สบ 2) กลุ่มงานอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, ความตระหนักรู้, stroke, awareness

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและเปรียบเทียบความตระหนักรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน 359 คน จากประชาชน ในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ที่มี 3 องค์ประกอบ คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและแบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือทุกฉบับมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ 0.85, 0.70, 0.68, และ 0.89 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีความตระหนักรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 68.47 (SD = 4.00)

2. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบตาม เพศ (F = 5.38, p <.05) อายุ (F = 7.11, p <.05) สถานภาพสมรส (F= 37.41, p <.05) ระดับการศึกษา (F= 7.24, p <.05) รายได้ (F= 5.37, p<.05) และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองด้านอาการเตือน (F=6.37, p <.05)

 

STROKE AWARENESS AMONG STROKE RISK PATIENTS
IN SENA DISTRICT PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA

Abstract

This research aimed to study the level of stroke awareness in stroke risk patients and to compare the stroke awareness among risk patients based on patient’s gender, age, marital status, education level and experience. A convenience sampling technique was used to recruit 359 stroke risk patients diagnosed with high blood pressure, diabetes, high cholesterol, and heart disease in Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya. The research instruments were demographic questionnaire, stroke awareness questionnaire, and stroke experience questionnaire. The Cronbach’s alpha coefficients were .85 .70 .68 and .89, respectively. Statistical techniques used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and ANOVA.

Major findings were as follows:

1. The average stroke awareness score of the stroke risk patients was at the moderate level. The average total score was 68.47 (SD = 4.00)

2. There were significant differences between mean of stroke awareness scores based on gender (F = 5.38, p <.05), age (F = 7.11, p <.05), marital status (F= 37.41, p <.05), education level (F= 7.24, p <.05), income (F= 5.37, p<.05), and experiences of warning symptoms (F=6.37, p <.05)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ภาณุรัตน์ ส. (2014). ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 3(2), 112–125. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23525

Issue

Section

Academic Articles