ประสิทธิผลของการพัฒนาแกนนำดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้า

Authors

  • พรทิพย์ ลยานันท์ และคณะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญพิเศษ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ โรงพยาบาลเลิดสิน

Keywords:

การพัฒนาแกนนำ, ผู้ป่วยเบาหวาน, ภาวะเสี่ยงจากการถูกตัดเท้า, Diabetic Patient, Care Leader, Risk of Foot Amputation

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาแกนนำดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้าให้เกิดความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติในการดูแลเท้าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและสามารถตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าซึ่งส่งผลให้ทีมรักษาพยาบาลสามารถคัดกรองเท้าได้ครอบคลุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานมิให้ถูกตัดเท้า รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว (Quasi Experimental one group design) เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 50 คน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ กลุ่มที่สองเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลีนิคเบาหวาน โรงพยาบาลเลิดสิน หรือ/และโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่สมัครใจเข้าร่วมเป็นแกนนำ ดำเนินการวิจัยโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักการเรียนรู้ในผู้ใหญ่ (Adult Learning Theory) ในเรื่องการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้าพร้อมฝึกทักษะการตรวจเท้าและบันทึกภาวะเสี่ยงลงในแบบฟอร์มการตรวจเท้า รวมทั้งฝึกทักษะการดูแลเท้าที่ถูกต้องของผู้ป่วยเบาหวานแล้วทำการประเมินสมรรถนะของแกนนำจากพยาบาลผู้สอนก่อนเข้าร่วมทีมสุขภาพในการคัดกรองความเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลเลิดสิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือในการทดลองได้แก่ คู่มือการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า เครื่องตรวจการรับรู้ความรู้สึก Semmes–Weinstien monofilaments และ วีดิทัศน์เรื่องการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้า 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ชุดแบบประเมินความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ชุดแบบประเมินการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเบื้องต้นของโรคเบาหวานสำหรับแกนนำและแบบสังเกตการตรวจเท้า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t –test

ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการดูแลเท้าเบาหวาน หลังการพัฒนาแกนนำสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.001 มีทักษะในการการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้าได้ถูกต้องร้อยละ 100 ผลของการปฏิบัติการตรวจคัดกรองของแกนนำ พบผู้ป่วยเบาหวานป่วยเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 28 มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้าร้อยละ 1.6

 

Effectiveness of Development of Care Leader in a Risk of Foot Amputation of Diabetic Patient.

Abstract

The objective of this research were to study the effectiveness of the development of the high risk diabetic patient care leader in knowledge improvement, attitude, foot care and the screening ability for the risk of foot ulcer and prevention of foot amputation. The research design was quasi experimental one group design. The data were collected from patients' care provider who were interested in joining the workshop, and patients who attended the diabetic clinic, department of Internal Medicine, Lerdsin General Hospital. The care leaders were trained to early detect risk of other patients feet by using handbooks, video, and Semmes-Weinstien monofilaments to evaluate the foot sensation and to record the foot screening forms. These care leaders also educated other patients in foot caring procedures. The knowledge, attitude, and skill evaluation form, the complication prevention form, and the foot observation form were used to measure the outcomes. The mean, standard deviation and paired-t-test were used for data analysis.

The research results were as follow: The workshop improved knowledge, attitude and foot care of the care leader (p=0.001). Their skills were improved to take care of the diabetic foot. Screening ability risk of foot amputation was improved to 100 percent. According to Lerdsin General Hospital diabetic clinic’s report, the percentage of patients who had diabetes mellitus more than 10 years was 28 % of all diabetic patients.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ลยานันท์ และคณะ พ. (2014). ประสิทธิผลของการพัฒนาแกนนำดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้า. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 3(2), 100–111. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23523

Issue

Section

Academic Articles