คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างประจำ โรงพยาบาลตำรวจ

Authors

  • นภวรรณ พลพินิจ พยาบาล (สบ3) โรงพยาบาลตำรวจ

Keywords:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, ลูกจ้างประจำ, quality of work life, organizational commitment, hired permanent employees

Abstract

บทคัดย่อ

คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างประจำ โรงพยาบาลตำรวจ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และระดับความผูกพันต่อองค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน กับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างประจำโรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 149 คน เป็นชาย 52 คน หญิง 97 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราวัดการประเมินค่า (Likert Scale) ที่สร้างและพัฒนาขึ้นจากแนวคิดคุณภาพชีวิตในการทำงานของฮิวส์และคัมมิงส์ (Huse & Cummings, 1985) และความผูกพันต่อองค์การของอัลเลน และเมเยอร์ (Allen & Meyer,1990) โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวม คุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้างประจำ อยู่ในระดับปานกลางโดยด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้ลูกจ้างประจำมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันได้แก่ เพศ โดยเพศหญิงมีความภูมิใจในองค์การมากกว่าเพศชาย (p<0.05) สถานภาพสมรส ผู้ที่สมรสแล้วมีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานมากกว่าคนโสดหรือหย่าในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย (p<0.05) อายุ คนที่มีอายุน้อย 30-40 ปี มีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความมั่นคงในงานและโอกาสในการพัฒนาตนเอง มากกว่าคนที่อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป (p<0.05) ส่วนระดับการศึกษา อายุงาน และรายได้ต่อเดือน ไม่ส่งผลให้ลูกจ้างประจำมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกันในทุกด้าน ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้ความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันได้แก่ เพศ โดยเพศหญิงมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าเพศชายในด้านจิตใจ (p<0.05) ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อายุงาน และรายได้ต่อเดือน ไม่ส่งผลให้ความผูกพันต่อองค์การมีความแตกต่างกันในทุกด้าน เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างประจำ พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ (r=0.42)

ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ในด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานควรให้ความสำคัญในด้านค่าตอบแทนเนื่องจากมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น และความผูกพันต่อองค์การในด้านความคงอยู่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการได้รับความดีความชอบที่เหมาะสมกับเวลาในการทุ่มเทให้กับการทำงาน ควรจัดให้เพียงพอเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ เกิดความพึงพอใจและมีทัศนคติที่ดีต่องาน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพ ของงานต่อไป

 

Quality of Working Life and Organizational Commitment of Hired Permanent Employees at Police General Hospital

Abstract

This study was a survey research aiming to study personal factors affecting quality of work life and the organizational commitment and the relationship between quality of work life and organizational commitment of hired permanent employees. Research participants were 149 hired permanent employees (52 men and 97 women) working at the Police General Hospital. Random sampling method was employed in the selection of sample. One hundred and fourty nine hired permanent employees were interviewed by using Likert Scale type of questionnaires which were developed from Huge & Cummings,s Quality Of Work Life Model and Allan & Mayer,s Organizational Commitment Model. Data analysis included descriptive statistics , t-test ,F-test , one-way ANOVA and Pearson ,s Product Moment Correlation.

The study showed that in the overall, quality of work life was found to be at moderate level but the organizational commitment was found to be at high level and mean value of Adequate and Fair Compensation was the least. Personal factors that made quality of work life different were sex (Female had more organizational pride (p<.05) than male) Status (Married employees had more environment of work (p<.05) than single and widow,) Age (Older employees had more job security and developing of Human Capacities (p<.05) than the younger employees ) The personal factors that could not affected in all aspects were the level of education, working experiences and incomes. Moreover there were no difference between nearly all aspects of organizational commitment except female had higher affective commitment than male. Positive relationship existed (r= 0.424 ) between the quality of work life and organizational commitment.

The study suggested that it should place a strong focus on adequate and fair compensation in the quality of work life and on the continuance commitment in organizational commitment. This could provide enough money for self reward, life satisfaction and good attitude for promoting good jobs in the future.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

พลพินิจ น. (2014). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างประจำ โรงพยาบาลตำรวจ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 3(2), 85–99. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23520

Issue

Section

Academic Articles