ผลของการให้การปรึกษากลุ่มที่มีต่อการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลรามาธิบดี

Authors

  • เบญจมาภรณ์ ลิขิตกิจไพศาล พยาบาลระดับ 6 โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • สุขอรุณ วงษ์ทิม อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Keywords:

การให้การปรึกษากลุ่ม, โรคพาร์กินสัน, การดูแลตนเอง, Group Counseling, Parkinson Patients, Self-care

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้การปรึกษากลุ่มที่มีต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วย
โรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันระยะที่ 1-3 ซึ่งเลือกแบบเจาะจง มีอายุระหว่าง 40 – 80 ปี เป็นผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน ผู้วิจัยสุ่มอย่างง่ายจับฉลากเป็นคู่ตามคะแนน เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบวัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยพาร์กินสัน โปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มและโปรแกรมการให้ข้อสนเทศ ดำเนินการทดลองทั้งกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เป็นระยะเวลากลุ่มละ 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1.5 - 2 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการทดสอบแมนวิทนีย์ (The Mann - Whitney U Test) และการทดสอบวิลคอกซัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test)

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการให้การปรึกษากลุ่ม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีคะแนนการดูแลตนเองดีขึ้นกว่าก่อนให้การปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มมีคะแนนการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

The Effects of Group Counseling on Self-care of Parkinson Patients
in Ramathibodi Hospital

Abstract

This research aimed to study the outcomes of group counseling demonstrated in self-care of the patients with Parkinson. The sample group was patients diagnosed as having Parkinson disease in phase 1-3, who were purposively selected by the age from 40 to 80. There were 16 subjects consenting to participate in this study. The simple random was used by drawing in pairs according to the assessing scores. Then, they were conducted as the experimental and the control group, with 8 subjects in each group. Both groups had been treated for 9 weeks: once a week and 1.5 -2 hours per session. The instruments were the Self-care of Parkinson Patients Test, group-counseling program, and informative advice program. Data were analyzed by the Mann-Whitney U Test and the Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test.

The findings revealed that the patients with Parkinson, who were treated by the group counseling, showed better self-care score than the previous period of the counseling treatment with statistical significance at 0.01. Moreover, the patients in the experimental group of counseling obtained their self-care score better than those in the control group with the statistical significance at 0.01.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ลิขิตกิจไพศาล เ., & วงษ์ทิม ส. (2014). ผลของการให้การปรึกษากลุ่มที่มีต่อการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลรามาธิบดี. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 3(2), 14–28. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23511

Issue

Section

Academic Articles