ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อระดับนํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดง ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตำรวจ

Authors

  • สมบูณ ขัตติยะสุวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ (สบ 3) กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ

Keywords:

โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ, นํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดง, ผู้ป่วยเบาหวาน, Health Promoting Program, HbA1C, Diabetes Mellitus

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับนํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วย เบาหวานก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพและเพื่อเปรียบเทียบระดับนํ้าตาลเกาะเม็ด เลือดแดงของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในคลินิคเบาหวาน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในจำนวนที่เท่ากัน กลุ่มละ 15 คน โดยการจับคู่ตามคะแนนจากแบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับนํ้าตาลในเลือดและระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 2) แบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการทดสอบฟรีดแมน (The Friedman Test) และการทดสอบค่าที (t-independent Test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าเฉลี่ยของระดับนํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยเบาหวานหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตนเอง แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับนํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดง ในกลุ่มทดลองลดลง ร้อยละ 0.96

2. ค่าเฉลี่ยระดับนํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดงก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ ของกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกัน

 

The Effect of Health Promoting Program on HbA1C of Diabetes Mellitus Patients, Diabetic Clinic, Police General Hospital

Abstract

The purposes of this research were to compare the HbA1C level of diabetic patients before and after entering Health Promoting Program and to compare the HbA1C level between the patients who entered the Program and the patients who received normal care. Subjects were diabetic patients from Diabetic Clinic, Police General Hospital. They were divided into 2 groups; experimental group and control group, 15 patients in each group. Both groups were matched by pretest scores, sex, age, education, fasting blood sugar and duration of the disease. Research instruments were 1) Health Promoting Program for Diabetes 2) Health Promoting Behavior Questionnaire which had Cronbach reliability at 0.83. Data were analyzed by the Friedman Test and t-independent Test.

Major findings were as follows:

1. The mean HbA1C level of the experimental group was significantly lower than the level of the control group at 0.05 level. The level of HbA1C decreased 0.96%

2. The mean HbA1C level before and after the Health Promoting Program of the experimental group were not significantly difference.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ขัตติยะสุวงศ์ ส. (2014). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อระดับนํ้าตาลเกาะเม็ดเลือดแดง ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตำรวจ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 3(2), 1–13. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23509

Issue

Section

Academic Articles