การศึกษาความพร้อมของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ ในการจัดการความรู้

Authors

  • อาภรณ์ ชูดวง กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ
  • สิริรัตน์ เนียมอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ
  • วัชราพร เชยสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ
  • อาทิตยา ดวงมณี วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ
  • พงศ์เทพ จิระโร โรงเรียนพยาบาล กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ
  • ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ
  • จีรนันท์ ขันแข็ง โรงเรียนพยาบาล กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ

Keywords:

การจัดการความรู้, ความพร้อมของบุคลากร, กรมแพทย์ทหารเรื, KM, Knowledge Management, Personnel‘s readiness, Naval Medical Department

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของบุคลากร กรมแพทย์ทหารเรือ ด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมเกี่ยวกับการจัดการความรู้กับภูมิหลังของบุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ และเพื่อเปรียบเทียบความพร้อมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของบุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ ที่มีภูมิหลังต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 387 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และเปรียบเทียบความพร้อมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ของบุคลากรที่มีภูมิหลังต่างกัน ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) บุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.30 มีทัศนคติต่อการจัดการความรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .47 และมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.20 และการปฏิบัติในระดับน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.00 2) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์กับอายุ และระยะเวลาปฏิบัติราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทัศนคติต่อการจัดการความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ รายได้ ระยะเวลาปฏิบัติราชการ ส่วนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) เพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้แตกต่างกัน ชั้นยศต่างกัน มีทัศนคติต่อการจัดการความรู้ต่างกัน และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดความรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

A Study of Personnel’s Readiness in Knowledge Management of Naval Medical Department

Abstract

The purpose of this descriptive research were : 1) to study the readiness included knowledge, attitude and practices towards KM of The Naval Medical Department (NMD) personnel; 2) to examine the relationships between the readiness and the backgrounds of the NMD personnel towards KM; and 3) to compare the readiness towards KM in the NMD personnel with different backgrounds. There were 387 subjects used in this study who are personnel working in the Naval Medical Department. The research was conducted using a questionnaire developed by the researchers as the research instrument. Through the use of descriptive statistics, the data were fundamentally analyzed. Further comparison was performed using Pearson product-moment correlation, T-Test and One-Way ANOVA.

The findings indicated the following: 1) The subjects surveyed had highest level of KM Knowledge at 77.30%. The mean of the attitude towards KM was 4.03 with the 0.47 SD. The mean levels of KM practices ranged from at 51.20% highest to the lowest of 24%. 2) Whereas a statistically significant correlation between knowledge & practices of KM and ages & time spent on job was found at the level of .01, no significant correlation was found between attitudes towards KM and ages, income, and time spent on job. A positive correlation between levels of knowledge, attitude, and practices toward KM appeared significant at the level of .01. 3) The further comparison indicated statistically significant differences at the level of .05 in each connection as follows: 3.1) personnel with different gender and different education background had different levels of KM knowledge 3.2) personnel with different military ranks had different attitudes towards KM; and 3.3) personnel working in different departments had different KM practices.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ชูดวง อ., เนียมอินทร์ ส., เชยสุวรรณ ว., ดวงมณี อ., จิระโร พ., โชคอวยชัย ป., & ขันแข็ง จ. (2014). การศึกษาความพร้อมของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ ในการจัดการความรู้. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 3(1), 88–100. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23499

Issue

Section

Academic Articles