การวิจัยประเมินโครงการพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการประเมินอาการและติดตามการช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตของโรงพยาบาลตำรวจ
Keywords:
การประเมินโครงการ, CIPP Model, แนวปฏิบัติในการประเมินอาการผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, Project evaluation, Pre-Cardiopulmonary Arrest Assessment’s GuidelineAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงประเมินนี้ (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการประเมินอาการและติดตามการช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลตำรวจ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุรกรรมและศัลยกรรม จำนวน 30 คน และข้อมูลจากแบบบันทึกการประเมินผู้ป่วยและการรายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงการและบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีภาวะก่อนวิกฤตและภาวะวิกฤต ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อโครงการพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการประเมินอาการและติดตามการช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลตำรวจ และแบบบันทึกผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการประเมินอาการและติดตามช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า โครงการพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการประเมินอาการและติดตามการช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลตำรวจ สอดคล้องกับบริบทขององค์กร มีความพร้อมของปัจจัยพื้นฐาน และการดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพในระดับมาก (=3.94, 4.05 และ 3.88 ตามลำดับ) ส่วนผลของโครงการพบว่า บรรลุเป้าหมายที่กำหนดทั้ง 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio-Pulmonary Resuscitation: CPR) โดยไม่ได้วางแผนในหอผู้ป่วยทั่วไป และการย้ายผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้วางแผนลดลงจากเดิม ส่วนระยะเวลาการตอบสนองตามแนวทางปฏิบัติในการประเมินอาการและติดตามการช่วยเหลือผู้ป่วย ก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตภายใน 10 นาที บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งพยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวทางปฏิบัตินี้มีความมั่นใจมากขึ้น
The Evaluation of the Development of Pre-Cardiopulmonary Arrest Asessment Project in Police General Hospital
Abstract
The objective of this evaluative research was to evaluate the development of Pre-Cardiopulmonary Arrest Assessment Project in the Police General Hospital by using CIPP Model. Samples were 30 nurses who worked in Medical and Surgery wards in the Police General Hospital between 1st June – 30th September 2009. Research instruments were questionnaires of sample’s opinion about the development of Pre-Cardiopulmonary Arrest Assessment Project which were developed by researcher and the content was validated by experts. This questionnaire was divided into 4 parts including context, input, process of implementation and the outcomes of the project. The reliability was tested by using Cronbach’s alpha coefficient which was .85. Data was analyzed by using descriptive statistic: mean, and standard deviation.
Research finding: Samples agreed with the development of Pre-Cardiopulmonary Arrest Assessment Project in the Police General Hospital in all aspects (Context, Input, and Process) in high level (= 3.94, 4.05, and 3.88, respectively). The outcomes of the project which were unplanned CPR, unplanned ICU, response time of pre-arrest’s sign in 10 minutes and using General Guideline for Pre-Cardiopulmonary Arrest Assessment to improve nursing care were improved in all aspects.
Recommendations: The study of nurse’s competencies to evaluate Pre-cardiopulmonary arrest signs should be taken. Pre-Cardiopulmonary Arrest Assessment’s Guideline of Police General Hospital should be published to promote the guideline.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ