ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สิทธิผู้ป่วย และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม กับการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ

Authors

  • เฉลิมขวัญ ศรีสุวรรณ พยาบาล (สบ 3) กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ

Keywords:

การรับรู้สิทธิผู้ป่วย, เหตุผลเชิงจริยธรรม, การปฏิบัติการพยาบาล, การพิทักษ์สิทธิประโยชน์, พยาบาลวิชาชีพ, perception of patients’ rights, moral reasoning, nursing practice, patient advocacy, professional nurses

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 250 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สิทธิผู้ป่วย แบบวัดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และแบบวัดการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย แบบวัดทุกฉบับผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ค่าความเที่ยงของแบบวัด ทั้ง 3 ฉบับ คือ .70, .72 และ .86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจอยู่ในระดับสูง(\inline \dpi{100} \bar{X}= 4.243) และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับต่ำ (r =.165) กับการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 สำหรับการรับรู้สิทธิผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

 

Relationships  Between  the  Perception  of   Patients’ Rights  and  Moral Reasoning  and  the Nursing  Practice  in  Patient  Advocacy  of  Professional   Nurses, Police  General  Hospital

Abstract

The purposes of this descriptive research were to study the relationships between the perception of patients’ rights and moral seasoning and nursing practice in patient advocacy of professional nurses, Police General Hospital. Subjects were 250 professional nurses working in police general hospital, selected by stratified random sampling technique. Research instruments were developed by the researcher to measure the perception of patients’ rights and moral reasoning and nursing practice in patient advocacy of professional nurses, Police General Hospital. All instruments were tested for content validity. Their reliabilities were .70,.72 and.86,respectively. Statistical techniques utilized in data analysis were means, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation.

Major findings were as follows:

1. The mean score of nursing practice patient advocacy of professional nurses’ police general hospital was at the high level.

2. Moral reasoning was positively and significantly correlated, at the low level with nursing practice patient advocacy of professional nurses’ police general hospital , at the .05 level. Moreover, there was no significant relationship between the perception of patients’ rights and nursing practice patient advocacy of professional nurses’ police general hospital.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ศรีสุวรรณ เ. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สิทธิผู้ป่วย และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม กับการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 3(1), 37–47. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23491

Issue

Section

Academic Articles