ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน ของข้าราชการทหารอากาศ

Authors

  • มัณฑินา จ่าภา อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • รวิภา บุญชูช่วย อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • สุพัฒศิริ บุญยะวัตร อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • สุรางค์ เปรมเสถียร อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

Keywords:

ความรู้, พฤติกรรมป้องกันโรค, กระดูกพรุน, ข้าราชการทหารอากาศ, knowledge, preventive behavior, osteoporosis, Air Force Personnel

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของข้าราชการทหารอากาศ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการทหารอากาศที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคข้าราชการของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชจำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน แบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวอย่างส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การรับประทานอาหารรสเค็มหรือโซเดียมสูง และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 82.4, 78.8 และ 53.6 ตามลำดับ)

2. ตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74.4) มีคะแนนความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 78.4 ของตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับปานกลาง

3. คะแนนความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรค
กระดูกพรุน (r = -.094; p>.05)

 

The Relationship between Knowledge and Preventive Behaviors of Osteoporosis in Air Force Personnel

Abstract

The objectives of this study were to explore the relationship between knowledge and preventive behavior of osteoporosis in Air Force Personnel. Samples were 250 Air Force Personnel who obtained service at outpatient department at BhumibolAdulyadej hospital. The research instruments were questionnaires which included a demographic survey and risk factors of osteoporosis, knowledge of osteoporosis, and preventive behavior of osteoporosis. Data were analyzed by using descriptive statistic, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.

The research findings were as follows:

1. The risk factors of osteoporosis of samples were caffeine consumption, salty diet intake, and alcohol consumption (82.4%, 78.8%, and 53.6% respectively)
2. The majority of sample (74.4%) had low level of the scores of knowledge and 78.4% of sample had a moderate level of the scores of osteoporosis preventive behaviors.
3. The scores of osteoporosis’ knowledge was not correlated to the scores of osteoporosis preventive behaviors (r = -.094; p>.05)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

จ่าภา ม., บุญชูช่วย ร., บุญยะวัตร ส., & เปรมเสถียร ส. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน ของข้าราชการทหารอากาศ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 4(1), 69–82. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/23429

Issue

Section

Academic Articles