ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภาคใต้ ประเทศไทย
Keywords:
ความตระหนักรู้, โรคหลอดเลือดสมอง, ความดันโลหิตสูง, Awareness, Stroke, HypertensionAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การมีโรคร่วม การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง กับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์ ภาคใต้ 4 แห่ง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (ได้แก่แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและแบบสอบถามการปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง) แบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยเครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราคระหว่าง .75 ถึง .85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสัมประสิทธิ์อีตา และ สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนความตระหนักรู้อยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 41.29 (SD = 5.35)
- เพศและอายุไม่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
- สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การมีโรคร่วม การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Factors Related to Stroke Awareness in Hypertensive Patients in Southern Region, Thailand
Abstract
This research aimed to study the level of stroke awareness in hypertensive patients, and the relationships among gender, age, marital status, education level, income, experience, co-mobility , perceived illness severity , receiving information, and stroke awareness. The sample consisted of 400 patients diagnosed with hypertension recruited from four hospitals in the southern region, Thailand. Research instruments comprised of the demographic questionnaire, perceived illness severity scale, stroke experience questionnaire and stroke awareness questionnaire including stroke knowledge questionnaire, stroke belief questionnaire, practices to reduce risk of stroke questionnaire. All questionnaires were tested for their content validity by 5 experts. The Cronbach , s alpha coefficients ranged from .78 to .85. Statistical techniques used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson, s Product Moment coefficient, Eta coefficient, and Spearman Rank correlation.
Major findings were as follows:
- The average mean of stroke awareness scores in hypertensive patients were at the moderate level. ( = 41.29 , SD = 5.35)
- Gender and age were not significantly correlated to stroke awareness.
- Marital status, education level, income, experience, co-mobility, and perceived illness severity and receiving information were significantly correlated to stroke awareness.
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ