วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ

Authors

  • สมบูรณ์ สุโฆสิต

Keywords:

พยาบาลวิชาชีพ, วัฒนธรรมความปลอดภัย, Professional Nurse, Safety Culture

Abstract

                   การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ เปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรตามปัจจัยส่วนบุคคล และหน่วยบริการที่ปฏิบัติงาน ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพตามหน่วยบริการที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ บริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยใน ไอซียู ห้องผ่าตัด ห้องคลอด และห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 จำนวน 707 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามทัศนคติด้านความปลอดภัย จำนวน 54 ข้อ ครอบคลุม 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การทำงานเป็นทีม บรรยากาศด้านความปลอดภัย ความเข้าใจในการบริหารจัดการ ความพึงพอใจในการทำงาน บรรยากาศในการทำงาน และการยอมรับความเครียด ที่มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติที

                   ผลการศึกษาพบว่า ระดับทัศนคติวัฒนธรรมความปลอดภัยโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 69.24±8.8 โดยมีปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีมและความพึงพอใจในการทำงาน อยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยที่ 78.44±11.4 และ 77.08±13.5 ตามลำดับ โดยปัจจัยบรรยากาศด้านความปลอดภัย ความเข้าใจในการบริหารจัดการ และบรรยากาศในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลางที่ 74.78±10.6  74.63±11.3 และ 68.48±12.5 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยด้านการยอมรับความเครียดอยู่ในระดับต่ำสุด ที่ 42.04±12.2

                   การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับทัศนคติวัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน จะมีวัฒนธรรมความปลอดภัยที่แตกต่างกัน ยกเว้นการยอมรับความเครียด และการปฏิบัติงานในหน่วยงานบริการที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ วิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ ตามตัวแปรหน่วยงานบริการ และจำแนกตามรายปัจจัย พบว่าวัฒนธรรมความปลอดภัยปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม บรรยากาศด้านความปลอดภัย ความพึงพอใจในงาน และบรรยากาศในการทำงาน มีวัฒนธรรมความปลอดภัยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

            ผลการศึกษานี้ผู้บริหารองค์กร ผู้บริหารทางการพยาบาล และคณะทำงานด้านคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริม พัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ปลอดภัยที่แท้จริงและยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพ; วัฒนธรรมความปลอดภัย

 

 

 

SAFETY CULTURE OF PROFESSIONAL NURSE IN POLICE GENERAL HOSPITAL

 

Abstract

                   The purpose of this study is to analyses the safety culture attitudes (SCA) of the professional nurse in Police General Hospital, according to personnel data and working place. Data collected during November 2013. Assessed the SCA with a safety attitudes questionnaire in 707 professional nurses who working in Out-patient service, In-patient service, Intensive care unit, Operating room, Labor room and Emergency room. The Questionnaire consisted of 54 items divided into 6 factors: teamwork climate, safety climate, perception of management, job satisfaction, working climate and stress recognition. The reliability value of questionnaire is 0.88. Scores are reported as frequency, means and standard deviation. The differences in SCA scores were assessed using Analysis of variance and t-test.

                   It was found that the overall SCA of the professional nurse in Police General Hospital is moderate (mean 69.24±8.8) The SCA of teamwork climate and job satisfaction are high (mean 78.44±11.4 and 77.08±13.5). Safety climate, perception of management and working climate were moderate (mean 74.78±10.6, 74.63±11.3 and 68.48±12.5) And the SCA of stress recognition were low (mean 42.04±12.2)

            Analysis the SCA of professional nurses across personnel factor were difference among status and all factors significant difference except stress recognition. Analysis the SCA of professional nurses across working place were difference among working place and all factors showed significant difference about teamwork climate, safety climate, job satisfaction and working climate.

            Finding from this study suggest that the hospital, nurse administrators and the quality improvement team should support, develop and enhance safety culture for patient in order to increase quality and safety culture sustainable.

 

Keywords: Professional Nurse; Safety Culture

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

สุโฆสิต ส. (2014). วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 6(1), 219–229. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/22278

Issue

Section

Research Articles