ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐม
Keywords:
ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา, Happiness Of The elderly in nursing homesAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบ ความสุขของผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐมจำแนกตามสถานภาพการสมรสก่อนเข้าพักอยู่ในสถานสงเคราะห์ จำนวนบุตร การมีโรคประจำตัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ระยะเวลาที่พักอยู่ในสถานสงเคราะห์ และการมาเยี่ยมของครอบครัวของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษามุมมองที่มีผลต่อความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราจังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) อำเภอนครชัยศรี จำนวน 45 คน และในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม จำนวน 65 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง และตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐมที่มีคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงสุด จำนวน 6 คน และต่ำสุด จำนวน 6 คนในแต่ละสถานสงเคราะห์ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐม มีความสุขอยู่ในระดับมาก 2) ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐม ที่มีสถานภาพสมรส การมีโรคประจำตัว ระยะเวลาที่พักอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา และการมาเยี่ยมของครอบครัวต่างกัน มีระดับความสุขไม่แตกต่างกัน และผู้สูงอายุที่มีจำนวนบุตร และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่างกัน มีระดับความสุขที่แตกต่างกัน 3) ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครปฐมมีมุมมองต่อความสุขว่า เกิดจากการช่วยเหลือตนเองได้ ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพร่างกาย การมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมสถานสงเคราะห์ ยิ้มแย้มแจ่มใส การแบ่งปันทุกข์และสุข ได้เห็นความสำเร็จของลูกหลาน และการได้ร่วมกิจกรรมในสถานสงเคราะห์
คำสำคัญ: ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา
HAPPINESS OF THE ELDERLIES IN NURSING HOMES, NAKHON PATHOM PROVINCE
Abstract
The purposes of this study were 1) to study the level of the elderlies’ happiness in Nakhon Pathom Province, 2) To compare the elderlies’ level of happiness as classified by personal demography : marital status prior to being resident in nursing homes, number of children, underlying disease, participation in religious activities, duration of residency in nursing homes, visiting of the family members, and, 3) to study the elderlies’ perspective towards happiness. The population for quantitative study were 110 male and female elderlies in 2 nursing homes to whom 45 from Nakhon Chaisri and 65 from Nakhon Pathom. The samples for qualilative study were selected from 6 of those whose happiness scores were highest and, 6 of the lowest.
Instrument used to collect data was interview questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed for percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The results revealed that: 1) The elderlies’ happiness were at a high level. 2) The elderlies’ happiness as classified by marital status, underlying disease, duration of residency, and visiting of the family members were not different, while those with member of children, and participation in religious activities were different. 3) The elderlies’s perpectives towards happiness were concern with self-dependent, and acceptance of one’s own physical changes, religious faithfulness, companionships among friends in nursing homes, emotional wellness, emotional sharing of happiness and sadness, viewing of their children’s sucessfullness and residential activities participation.
Keywords: Happiness Of The elderly in nursing homes
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ