การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ความเครียด การปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติของนักเรียนพยาบาลเหล่าทัพ สาธารณรัฐเกาหลีและนักเรียนพยาบาลทหารอากาศวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
Keywords:
ความเครียด, การปรับตัว, การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติ, Stress, Adaptation, Self-esteem, ResilienceAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบการรับรู้ความเครียด การปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติของนักเรียนพยาบาลเหล่าทัพ สาธารณรัฐเกาหลี และนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ และ 2) ศึกษาความแตกต่างของการรับรู้ความเครียด การปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติของนักเรียนพยาบาลเหล่าทัพ สาธารณรัฐเกาหลี และนพอ. จำแนกตาม ชั้นปีที่ศึกษา การมีเพื่อนชาย ที่ปรึกษาและปัญหาสุขภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนพยาบาลเหล่าทัพ 264 คน และนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 4 ชุด คือการรับรู้ความเครียด การปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติ การเก็บข้อมูลเกิดขึ้นหลังได้รับอนุญาตจากนักเรียนพยาบาลเหล่าทัพและนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ สถิติที่ใช้ คือ t-test และ ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความเครียด การปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติของนักเรียนพยาบาลเหล่าทัพ สาธารณรัฐเกาหลี และนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) การรับรู้ความเครียดของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศจำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา การมีเพื่อนชาย การมีที่ปรึกษาและปัญหาสุขภาพ ไม่ความแตกต่างกัน แต่แตกตางกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามปัญหาสุขภาพ การรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง จำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา แตกตางกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือชั้นปีที่ 4 แตกต่างจากชั้นปีที่ 1และ 3 จำแนกตามการมีเพื่อนชาย แตกตางกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามการมีที่ปรึกษา การรับรู้ความเครียด การปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติไม่แตกตางกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การรับรู้ความเครียดของนักเรียนพยาบาลเหล่าทัพ สาธารณรัฐเกาหลี จำแนกตาม ชั้นปีที่ศึกษา การมีเพื่อนชาย การมีที่ปรึกษาและปัญหาสุขภาพ ไม่ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปรับตัวจำแนกตาม การมีเพื่อนชาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง จำแนกตามชั้นปีที่ศึกษา การมีเพื่อนชาย การมีที่ปรึกษาและปัญหาสุขภาพ ไม่ความแตกต่างกัน การกลับสู่ภาวะปกติจำแนกตามการมีที่ปรึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัย การมีที่ปรึกษาจะช่วยให้นักเรียนปรับตัว การรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และช่วยให้การกลับสู่ภาวะปกติเกิดขึ้นเร็ว จึงควรส่งเสริมให้ระบบที่ปรึกษามีความเข้มแข็งในสถาบันการศึกษาพยาบาล และนักเรียนที่มีสุขภาวะดีส่งเสริมให้เกิดการปรับตัวดี จึงควรการดูแลเอาใจใส่สุขภาวะของนักเรียนเพื่อช่วยให้เกิดการปรับตัวที่ดี ควรพัฒนาเทนิดการผ่อนคลาย เพิ่มการจัดสันทนาการให้พอเพียงเพื่อคลายความเครียด และช่วยให้เกิดการปรับตัวที่ดี
คำสำคัญ: ความเครียด; การปรับตัว; การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการกลับสู่ภาวะปกติ
A COMPARATIVE STUDY OF PERCEIVED STRESS, ADAPTATION, SELF- ESTEEM, AND RESILIENCE OF THE ARMED FORCES NURSING ACADEMY CADETS, REPUBLIC OF KOREA AND THE ROYAL THAI AIR FORCE NURSING COLLEGE, STUDENT NURSES, THAILAND
The objectives of this study were 1) to compare perceived stress, adaptation, self-esteem, and resilience of AFNA Cadets, and RTAFNC student nurses and 2) to investigate the differences of perceived stress, adaptation, self-esteem, and resilience of AFNA Cadets, and RTAFNC, student nurses classified by general characteristic of grade, having boyfriend, mentor and health problems. Descriptive study was carried out. Samples composed of 264 A.F.N.A. cadets, and 196 RTAFNC. student nurses. Research instrument was composed of 4 sets of questionnaires of stress, adaption, self-esteem and resilience. Data were gathered at A.F.N.A and RTAFNC after receiving permission. 264 AFNA Cadets and 196 RTAFNC student nurses were asked to fill out the questionnaires. T-test and one way analysis of variance were used for data analyses.
The research results were as follows: 1) Perceived stress, adaptation, self-esteem and resilience of A.F.N.A cadets and RTAFNC SN were found significantly different at p < .001. 2) Mean scores of perceived stress of RTAFNC student nurses were not significantly different when classified by grade, having boyfriend, mentor and health problem. Mean scores of adaptation were significantly different when classified by health problem at p<.05. Mean scores of self-esteem when classified by grade revealed grade 1, 3 and 4 differed from grade 4. Besides, mean score differences of self-esteem classified by having boyfriend were significantly different at p<.05. Having mentored and no mentor had shown no significant difference between perceived stress, adaptation, self-esteem, and resilience. Health problem and no health problem indicated no significant different mean scores of adaptation. 3) Perceived stress of AFNA cadets were not significantly different when classified by grade, religious practice, boyfriend, mentor and health problem. Mean scores of adaptation when classified by having boyfriend were found significantly different at p<0.05. Mean scores of self- esteem were not significantly different when classified by grade, religion, boyfriend, mentor and health problem. Mean scores of resilience were significantly different when classified by mentor at p<.05. The research results indicated that mentors play a vital role in the increment of adaptation, self-esteem and resilience. As a consequence, mentor system should be strengthening in the military nursing academy. Besides, health status takes effect on adaptation, thus the student nurses who had health problems were likely to have lower scores of adaptation. Therefore military nursing academies should promote healthy status to all cadets and student nurses during their studying. Relaxation techniques and recreation should be provided sufficiently to the cadets and student nurses.
Key words: Stress; Adaptation; Self-esteem; Resilience
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ