ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการคุณภาพบริการของบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Keywords:
คุณภาพบริการ, บุคลากรทางการแพทย์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, Service quality, Medical personnel, The Royal Thai PoliceAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการคุณภาพบริการของบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวอย่างคือ บุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวน 295 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ใช้การกำหนดจำนวนตัวอย่างตามขนาดของกลุ่มแบบเป็นสัดส่วนกับขนาดของกลุ่ม (Proportional Stratified Random Sampling) และเก็บข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling : SRS) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .99 และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวัดความสอดคล้องภายในชุดเดียวกัน (Internal Consistency) ด้วยวิธี Cronbach’s Alpha Coefficient กับบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Enter
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการคุณภาพบริการของบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติมี 4 ปัจจัย คือ 1) การรับรู้ปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวัง 2) การติดต่อกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 3) ความผูกพันต่อเป้าหมายในการทำงาน และ 4) ผลกระทบจากหลักประกันสุขภาพ ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการคุณภาพบริการของบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ปัจจัยสามารถอธิบายการบริหารจัดการคุณภาพบริการของบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ร้อยละ 50.00
(R2 = .50)
คำสำคัญ: คุณภาพบริการ; บุคลากรทางการแพทย์; สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
FACTORS EFFECTED TO MANAGEMENT OF SERVICE QUALITY OF MEDICAL PERSONNEL OF THE ROYAL THAI POLICE
Abstract
The objective of this research was to study about factors effecting to management of service quality of medical personnel of the Royal Thai Police. Research subjects were 295 medical personnel. The samples were drawn subjectively using the probability sampling technique, selected by stratified random sampling with proportional stratified random sampling and collecting data by simple random sampling method. Questionnaire was used for collecting data. All instruments were tested for the content validity from 5 knowledgeable peoples finding index of item objective congruence is equal to .99 and tested for reliability with Cronbach,s Alpha Coefficient from 30 medical personnel is equal to .83. The data were analyzed by multiple regression analysis with enter method.
The results revealed four factors, 1)perceived factors of expected service, 2)the service encounter, 3)employee engagement and 4)health security system impact that affected the management of service quality of medical personnel of the Royal Thai Police at the .05 level of significance and the adjusted R2 is equal to .496.Key words: Service quality; Medical personnel; The Royal Thai Police
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ