ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการต่อระดับสมาธิของเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้น
Keywords:
โปรแกรมการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ, การฝึกสร้างจินตนาการสมาธิ, เด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้น, An Anapanasati Meditation Training Program, Autogenic Training, Behavior Attention, Children With risk for Attention Deficit Hyperactivity DisorderAbstract
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการต่อระดับสมาธิของเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้น ตัวอย่างเป็นเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้นที่เรียนในโรงเรียนวัดอัยยิการาม ทั้งหมด 40 คน เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 9-12 ปี หลังจากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบจับคู่และสุ่มแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการ สัปดาห์ละ 5 วันติดต่อกันเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนตามปกติ พฤติกรรมและสมาธิของเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้นประเมินโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมและสมาธิ (ฉบับผู้ปกครองและครู) ผลการวิจัยพบว่าระดับพฤติกรรมและสมาธิของกลุ่มทดลอง ทั้งที่ประเมินโดยผู้ปกครองและครู ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการสามารถช่วยให้พฤติกรรมและสมาธิของเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้นดีขึ้น ซึ่งสามารถใช้เป็นการบำบัดทางเลือกได้อีกแนวทางหนึ่ง
คำสำคัญ: โปรแกรมการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ; การฝึกสร้างจินตนาการสมาธิ; เด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้น
EFFECT OF ANAPANASATI MEDITATION TRAINING AND AUTOGENIC TRAINING ON ATTENTION LEVELS OF CHILDREN WITH RISK FOR ATTENTION DEFICIT
Abstract
The objective of this research was to ascertain the effects of an Anapanasati Meditation Training and autogenic training program on behavior and attention of children with risk for attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) at aiyikaram School. The sample group consisted of 40 boys with risk for attention deficit hyperactivity disorder, age 9-12, selected by matched pairs. Simple random sampling was used for the experimental and control groups, which consisted of 20 pairs. The experimental group participated in an Anapanasati Meditation Training and autogenic training program for every days on Monday to Friday per week during 16 consecutive weeks, whereas the control group received regular study. Behavior and attention of children with risk for attention deficit hyperactivity disorder assess by behavioral and attention scale questionnaires (the parent’s and the teacher’s versions).
The study revealed that: There were statistically significant differences at the p < 0.001 level between the mean scores of changes in the behavioral and attention scales of students according to the assessment by both the parents and the teachers in the experimental and control groups. The results of this study indicate that an Anapanasati Meditation Training and the autogenic training program together can improve the behavior and attention of children with risk for ADHD and can be used as an alternative treatment.
Key words: An Anapanasati Meditation Training Program; Autogenic Training, Behavior Attention; Children With risk for Attention Deficit Hyperactivity Disorder
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ