ผลการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชุมชนบ้านไผ่ลูกนก ม.6 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
Keywords:
การจัดบริการสุขภาพเชิงรุก, ผลลัพธ์ทางสุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, proactive health services, health outcomes, chemical pesticidesAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบ กลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง (Quasi-experimental research : one Group Pretest – Posttest Design) เพื่อศึกษาผลการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชุมชนบ้านไผ่ลูกนก ม.6 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางเกษตร เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และชุดทดสอบพิเศษ ตรวจหาปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเทอเรส เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย การจัดบริการสุขภาพเชิงรุกและคู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับเกษตรกร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และค่าสถิติ Paired Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.2) อายุอยู่ในช่วง 50- 59 ปี ร้อยละ 33.9 อาชีพหลักทำนาและเป็นเจ้าของที่เอง ร้อยละ 79.6 รองลงมารับจ้างฉีดพ่น ร้อยละ 17 น้อยที่สุดเป็นลูกจ้างทำนา ร้อยละ 3.4
2. ภายหลังการจัดบริการสุขภาพเชิงรุก คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (t =5.20 ; p<.05) และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางเกษตรของเกษตรกร (t =3.17; p<.05) สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดบริการสุขภาพเชิงรุก
3.ผลตรวจหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรดีขึ้นจากระดับเสี่ยงเป็นระดับปลอดภัยและปกติ แสดงว่าการจัดบริการสุขภาพเชิงรุก มีผลทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพของเกษตรกรดีขึ้น
คำสำคัญ: การจัดบริการสุขภาพเชิงรุก; ผลลัพธ์ทางสุขภาพ; สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
THE EFFECT OF PROACTIVE HEALTH SERVICE ON HEALTH OUTCOMES OF AGRICULTURISTS WHO USED PESTICIDES IN BAN PAILOOKNOK COMMUNITY, MOO 6,TAMBON SUANTAENG, MUANG DISTRICT, SUPHANBURI PROVINCE.
Abstract
The objective of this study was to explore the effect of proactive health service on health outcomes of agriculturists who used pesticides. Samples were 60 in Ban Pailooknok community, Moo 6, Tambon Suantaeng, Muang district, Suphanburi province. The research instruments were questionnaires which included knowledge chemical pesticides, and behavior of chemical pesticides. The risk assessment of the work of agriculturists from pesticide exposure and blood samples were collected for analysis of the serum cholinesterase level. Instruments used in the experiment consisted of a proactive health and guide agriculturists. Data were analyzed using descriptive statistics and the statistics Paired Sample t-test.
The research findings were as follows:
1. Most agriculturists were female (54.2 %), the age of majority in the range 50 - 59 years, 33.9 %, career mainly farming and owns a percentage of 79.6, followed Injection least 17 % are employed in farming by 3.4 %
2. After the proactive health services. Average knowledge about the use of chemical pesticides (t = 5.204; p <.05) and behavior using chemical pesticides of farmers (t = 3.174; p <.05) were higher than before proactive health service
3. Result detection of cholinesterase enzymes in the blood of agriculturists were up from a level of security risk and normal which showed that the proactive health services improved health outcomes for agriculturists.
Keywords: proactive health services; health outcomes; chemical pesticides
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ