ผลของการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Authors

  • นันท์ธิยาภรณ์ มะละศิลป์
  • สุนิดา ปรีชาวงษ์

Keywords:

การให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่, การนวดกดจุดสะท้อน, พฤติกรรมการเลิกบุหรี่, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, Tobacco Cessation Counseling, Reflexology Smoking Cessation Behaviors, Patients with chronic diseases

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน จับคู่โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในด้านอายุ  และจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน  ตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่อย่างเข้มข้นเหมือนกัน แต่กลุ่มทดลองได้รับการนวดกดจุดสะท้อนร่วมด้วย โปรแกรมประกอบด้วยการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่เป็นรายบุคคล จำนวน 6 ครั้งและการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการเลิกบุหรี่  ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า  ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่; การนวดกดจุดสะท้อน; พฤติกรรมการเลิกบุหรี่; ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

 

EFFECT OF TOBACCO CESSATION COUNSELING COMBINED WITH REFLEXOLOGY ON SMOKING CESSATION BEHAVIORS OF PATIENTS WITH CHRONIC ILLNESS


Abstract

            The purposes of this quasi-experimental research was to compare the effect of tobacco cessation counseling program and tobacco cessation counseling program combined with reflexology on smoking cessation behaviors. The study samples were sixty adult patients diagnosed with chronic obstructive pulmonary diseases, diabetes, hypertension, or cardiovascular disease, recruited from inpatient units of a general hospital in Mahasarakham province. The samples were assigned into two groups.  The groups were matched in term of age and number of cigarettes smoked per day. The samples in both groups were given the same intensive cessation counseling intervention but the experimental group was given hand reflexology. The intensive counseling intervention was composed of six individual sessions counseling and two follow-up telephone counseling sessions.  Smoking cessation behavior was assessed after two months by a self-reported questionnaire that had high internal consistency with alpha coefficients of .87 Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.  The results showed that after receiving the intervention, the mean score for smoking cessation behavior of the experimental group was significantly higher before the intervention (p<.05). In addition, the mean score of smoking cessation behavior for the experimental group was significantly higher than that for the control group (p<.05).

 

Keywords:  Tobacco Cessation Counseling; Reflexology Smoking Cessation Behaviors; Patients with chronic diseases

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

มะละศิลป์ น., & ปรีชาวงษ์ ส. (2014). ผลของการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 6(1), 30–43. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/21898

Issue

Section

Research Articles