ผลการปรึกษาทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างรุ่นต่อความสามารถในการแยกตนเองของนิสิตปริญญาตรี
Keywords:
ความสามารถในการแยกตนเอง, นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่1, ทฤษฏีเชื่อมโยงระหว่างรุ่น, Differentiation of Self The First Year, Undergraduate Students, Transgeneration TheoryAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง ( Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้การปรึกษาทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างรุ่นต่อความสามารถในการแยกตนเองของนิสิตปริญญาตรี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ปีการศึกษา 2556 ที่มีคะแนนความสามารถในการแยกตนเองซึ่งวัดจากแบบวัดความสามารถในการแยกตนเองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทต์ที่ 25 จำนวนทั้งสิ้น 97 คน ใช้วิธีจับคู่ตามคะแนนเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแยกตนเองและโปรแกรมให้การปรึกษาทฤษฏีเชื่อมโยงระหว่างรุ่น ผู้วิจัยดำเนินการให้การปรึกษารายบุคคลจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ60 นาที แบ่งการทดลองออกเป็น3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล นำข้อมูลวิเคราะห์ด้วยสถิติความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ บอนเฟอร์โรนี่
ผลการวิจัยพบว่า นิสิตปริญญาตรีในกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฏีเชื่อมโยงระหว่างรุ่นมีคะแนนค่าเฉลี่ยความสามารถในการแยกตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตปริญญาตรีกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฏีเชื่อมโยงระหว่างรุ่น มีคะแนนค่าเฉลี่ยความสามารถในการแยกตนเองในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: ความสามารถในการแยกตนเอง; นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่1; ทฤษฏีเชื่อมโยงระหว่างรุ่น
THE EFFECTS OF TRANSGENERATIONAL COUNSELING THEORY ON DIFFERENTIATION OF SELF AMONG UNDERGRADUATE STUDENTS.
Abstract
This research were Quasi Experimental aimed to study the effect of transgenerational counseling theory on differentiation of self among undergraduate students .The samples composed of 97 first year undergraduate students in academic year 2013 Kasetsart University Siracha Campus with the score on differentiation of self less than 25th percentile. The samples obtained through a matched pair method, they were assigned into two groups :an experimental group and control group with eight persons in each group. The instruments used in this research were the measurement of differentiation of self and the interventional program transgenerational Counseling Theory. The intervention was administered for 10 sessions. Each session lasted about 60 minutes. The research design was two - factor experimental with repeated measures on one factor. In fact, the study was divided into 3 phases: the pre - test phase, the post - test and the follow - up phase. The data were analyzed using repeated measure analysis of variance: one between - subject variable and one within - subjects variable and were tested to pair differences among means with use of the Bonferroni
The results revealed that the levels of differentiation of self in the study groups higher score for the post- test and the follow – up phases than those of the control groups at the .05 significant interaction level . The level of differentiation of self in the study groups in the post- test and the follow- up phases were statistically significant at the .05 level from those in the pre-test phases.
Key Words: Differentiation of Self The First Year; Undergraduate Students; Transgeneration Theory
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ