ผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อความปวดขณะทำกิจกรรมการลุกนั่งของผู้ป่วยภายหลังทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิดภายใน 48 ชั่วโมงแรก

Authors

  • ทิศากร สุทธิประภา
  • ชนกพร จิตปัญญา

Keywords:

การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, ความปวด, ดนตรีบำบัด, การจัดการอาการ, การให้ข้อมูล, Opened-heart surgery, Pain, Music therapy, Symptom management, Preparatory information

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบแผนการศึกษาสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความปวดขณะทำกิจกรรมลุกนั่งของผู้ป่วยภายหลังทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิดภายใน 48 ชั่วโมงแรก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจทุกประเภททั้งเพศหญิงและเพศชาย ภายหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40 คน ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ โรคหัวใจ การผ่าตัดและยาบรรเทาปวด โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการจัดการอาการ ประกอบด้วยการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีในขณะมีกิจกรรมการลุกนั่ง ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความปวดชนิดเส้นตรง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirmov test และสถิติทดสอบที (Independent t-test)

            ผลการวิจัยสรุปดังนี้ ระดับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 24 และ 48 ชั่วโมงแรก ขณะมีกิจกรรมการลุกนั่งของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01

 

คำสำคัญ: การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด; ความปวด; ดนตรีบำบัด; การจัดการอาการ; การให้ข้อมูล

 

 

THE EFFECT OF SYMPTOM MANAGEMENT PROGRAM ON POSTOPERATIVE PAIN DURING CHAIR REST IN OPEN-HEART SURGERY PATIENTS WITHIN THE FIRST 48-HOURS POSTOPERATIVE DAY

 

Abstract

            The purpose of this quasi-experimental research was to compare the effect of symptom management program on postoperative pain during chair rest in open-heart surgery patients within the first 48 hours postoperative day. The subjects were 40 post-opened heart surgery patients admitted at Sappasittipasong Hospital, and were selected by a purposive sampling. The subjects were arranged into a control group, and an experimental group. The groups were matched in terms of age, sex, heart disease, type of surgery and regimen of analgesic. Each groups consisted of 20 patients. The control group received conventional nursing care. The experimental group received preparatory information about pain and listened to music during chair rest in open-heart surgery patients within the first 48 hours postoperative day. The intervention program was tested for the content validity a group of 6 experts. Pain was assessed by using a visual analog scale (VAS). Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Kolmogorov-Smirmov test statistic, and Independent t-test.

            Major findings were as follows: After the operation, the mean of pain level during sitting of the experimental group was significantly lower than that of the control group.  (p < .01).

 

Keywords: Opened-heart surgery; Pain; Music therapy; Symptom management; Preparatory information

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

สุทธิประภา ท., & จิตปัญญา ช. (2014). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อความปวดขณะทำกิจกรรมการลุกนั่งของผู้ป่วยภายหลังทำผ่าตัดหัวใจแบบเปิดภายใน 48 ชั่วโมงแรก. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 6(1), 1–11. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/21896

Issue

Section

Research Articles