ผลการปรึกษาทฤษฎีการปรึกษาแบบเล่าเรื่องต่อการเยียวยาตนเองของสตรีหย่าร้าง

Authors

  • กรรณิการ์ แสนสุภา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • จุฑามาส แหนจอน

Keywords:

ทฤษฎีการปรึกษาแบบเล่าเรื่อง, การเยียวยาตนเอง, สตรีหย่าร้าง, Narrative Counseling Theory, Self-healing, Divorced women

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการปรึกษาทฤษฏีการปรึกษาแบบเล่าเรื่องต่อการเยียวยาตนเองของสตรีหย่าร้าง  ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นสตรีหย่าร้างที่มีสาเหตุมาจากการนอกใจของสามี  ที่อาศัยอยู่ในโครงการบ้านเอื้ออาทร  กรุงเทพมหานคร จำนวน 20  คน  โดยมีคะแนนการเยียวยาตนเองต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25  ทำการสุ่มอย่างง่ายให้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการเยียวยาตนเองของสตรีหย่าร้างและโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีการปรึกษาแบบเล่าเรื่องจำนวน 9  ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ติดต่อกันโดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองประเภทสององค์ประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งองค์ประกอบ แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง  และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มของฮาวเวลและทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิว - แมนคูลส์

ผลการทดลองพบว่า  สตรีหย่าร้างที่ได้รับการปรึกษาแบบเล่าเรื่อง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการเยียวยาตนเองแตกต่างจากสตรีหย่าร้างที่ไม่ได้รับการปรึกษาแบบเล่าเรื่องในระยะหลังศึกษา และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสตรีหย่าร้างที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีแบบเล่าเรื่องมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเยียวยาตนเองในระยะหลังศึกษา และระยะติดตามผลแตกต่างจาก ระยะก่อนศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: ทฤษฎีการปรึกษาแบบเล่าเรื่อง; การเยียวยาตนเอง; สตรีหย่าร้าง

 

 

The  Effects  of  Narrative  Counseling  Theory  on  Self-healing of  Divorced  women

Abstract

The  purposes of research were to  study  the  effects  of  Narrative  Counseling  Theory  on  Self-healing  of  Divorced  women. The research was Quasi-Experiment Design. The sample composed of  20  people who living  in  Ban-aeuarthon  Bangkok , who had self-healing  score less than 25th percentile. They were randomly assigned into two groups equally: an experimental group and a control group with 10 people members in each. The instruments  were utilized  the measurement test of  Self-healing  in Divorced women  and the intervention program of the Narrative Counseling  Theory. The intervention  program included 9 sessions. Each session lasted about 60 minutes. The control group was on routine in everyday. The research design was two - factor experimental with repeated measures on one factor. In fact, the study was divided into 3 phases: the pre - test phase, the post - test and the follow - up phase. The data were analyzed using repeated measure analysis of variance: one between - subject variable and one within - subjects variable and were tested to pair differences among means with use of the Numan - Keuls Procedure.

The results revealed that the levels of  Self-healing  in the study and the control groups were significant interaction at .05 level when measured in the post - test and the follow - up phases. The levels of  Self-healing  in the study group in the post - test and the follow up phases were statistically significant at .05 level from these in the pre - test phase.

 

Key Word: Narrative  Counseling Theory; Self-healing; Divorced women

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

แสนสุภา ก., กุลนภาดล เ., & แหนจอน จ. (2014). ผลการปรึกษาทฤษฎีการปรึกษาแบบเล่าเรื่องต่อการเยียวยาตนเองของสตรีหย่าร้าง. JOURNAL OF THE POLICE NURSES AND HEALTH SCIENCE, 5(1), 19–32. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/21050

Issue

Section

Research Articles