การออกกำลังกาย: ผลต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
Keywords:
การออกกำลังกาย, สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์, exercise, pregnant women and fetusAbstract
บทคัดย่อ
สตรีระหว่างการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่น้ำหนักตัวมักเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐาน หากไม่มีการควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอระหว่างการตั้งครรภ์เป็นวิธีการหนึ่งที่อาจสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากการตั้งครรภ์ได้ สตรีระหว่างการตั้งครรภ์สามารถเลือกรูปแบบและความถี่ในการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น การเดิน การเดินขึ้น-ลงทางลาดชัน การยกแขนหลังเหยียดตรง การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง การบริหารกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด เป็นต้น จากการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าการออกกำลังกายนั้นมีผลต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ผลดีต่อสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ ลดภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานจากการตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด การคลอดยาก เป็นต้น ผลดีต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ การเจริญเติบโต และการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ
จากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมข้างต้น แม้ว่าการศึกษาผลของการออกกำลังกายต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ยังมีน้อย อย่างไรก็ตามหากสตรีตั้งครรภ์มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถูกวิธีระหว่างการตั้งครรภ์ น่าจะส่งผลดีต่อสภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ และสภาวะสุขภาพในระยะยาวของทารกต่อไป ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์มีการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอระหว่างการตั้งครรภ์
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย; สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
Exercise: Effect on Pregnant Women and Fetus
Abstract
Pregnant women are frequently overweight owing to the neglectness of weight control during pregnancy. Excessive weight gain can probably bring about morbidities in the time of antenatal, intrapartum or even postpartum period. From previous studies, regular exercise was claimed to have beneficial effect for the pregnant women regarding the reduction in pregnancy complication such as gestational diabetes, preeclampsia, preterm labor and dystocia. It also was claimed about fetal growth promotion and fetal brain development. There are many types of exercise which are suitable for pregnant women. Walking, stepping, arm/upper back stretch, abdominal muscle and kegel exercise are recommened during pregnancy. However, the individual’s health status is much important to choose for the proper type of exercise.
Although, there has still been very few studies regarding exercise during pregnancy at the present time, most of the studies reveal beneficial effects for both mothers and fetuses. Therefore, regular and proper exercise should be promoted during pregnancy in order to yield the best pregnancy outcome.
Keywords: exercise; pregnant women and fetus
Downloads
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ