ผลการปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความเข้มแข็งอดทนของครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน

Authors

  • วณิชยา บู่ศรี
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Keywords:

ความเข้มแข็งอดทนของครอบครัว, การให้การปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา, Family Hardiness, Cognitive Behavior Family Counseling, Diabetes Mellitus patient family

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความเข้มแข็งอดทนของครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประกอบด้วยมารดาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานไม่เกิน 6 เดือน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อายุ 45 ปีขึ้นไป และบุตรคนที่มารดาระบุว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมที่สุด โดยคัดเลือกจากครอบครัวที่มีค่าสัมประสิทธ์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างค่าคะแนนจากแบบวัดของแม่กับลูก มากกว่า 0.8 ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 5 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความเข้มแข็งอดทนครอบครัว และโปรแกรมให้การปรึกษาครอบครัวตามทฤษฏีพฤติกรรมทางปัญญา การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง ประเภทสององค์ประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งองค์ประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี

ผลการศึกษา พบว่าครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา มีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งอดทนของครอบครัวสูงกว่าครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญามีคะแนนเฉลี่ยความเข็มแข็งอดทนของครอบครัวในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนได้รับการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ความเข้มแข็งอดทนของครอบครัว การให้การปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา

 

The Effects of Cognitive Behavior Family Counseling on Family Hardiness in Diabetes Mellitus’s Patient Families.

Abstract

This research aimed to study the effects of Cognitive Behavior Family Counseling Theory on family hardiness in Diabetes Mellitus patient family. The sample were mother patient and son total 10 patient families from Out Patient  Department in Kluaynamthai Clinique Group, who had Pearson correlation coefficient score between mother patient and son more than 0.8 They were randomly assigned into two groups equally: an experimental group and a control group with 5 families in each. The instruments which were used in this research were the measurement of family hardiness and the interventional program Cognitive Behavior Family Counseling. The intervention was administered for 8 sessions.  Each session lasted about 60 minutes. The research design was two - factor experimental with repeated measures on one factor. In fact, the study was divided into 3 phases: the pre - test phase, the post – test and the follow - up phase. The data were analyzed using repeated measure analysis of variance: one between - subject variable and one within - subjects variable and were tested to pair differences among means with use of the Bonferroni’s Procedure.

The results revealed that the levels of Family hardiness in the study and the control groups were significant interaction at .05 level when measured in the post - test and the follow - up phases. The levels of Family hardiness in the study group in the post - test and the follow up phases were statistically significant at .05 level from these in the pre - test phase.

 

Keywords : Family Hardiness/ Cognitive Behavior Family Counseling/ Diabetes Mellitus patient family

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

บู่ศรี ว., กุลนภาดล เ., & ทรัพย์วิระปกรณ์ ว. (2014). ผลการปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความเข้มแข็งอดทนของครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 5(2), 33–46. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/20757

Issue

Section

Research Articles