ผลของโปรแกรมการหัวเราะบำบัดที่มีต่อสมรรถภาพการทำงานของปอดและระดับคอร์ติซอลในผู้ปวยโรคหืด

Authors

  • จิตรา ดุษฎีเมธา

Keywords:

หัวเราะบำบัด, โรคหืด, คอร์ติซอล, สมรรถภาพปอด, Laughter therapy, asthma, cortisol, pulmonary function test

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการหัวเราะบำบัดที่มีต่อสมรรถภาพการทำงานของปอด และระดับคอร์ติซอลในผู้ป่วยโรคหืด การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบวัดก่อนและหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (Pre-Post test Control Group Design)   กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืด จำนวน 20 คน อายุระหว่าง  20-44 ปี ที่เข้ามารักษาที่ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยโรคหืดหลังจากที่ได้รับโปรแกรมหัวเราะบำบัดมีสมรรถภาพการทำงานของปอด (ร้อยละในการทำนาย FEV1 / FVC) ซึ่งเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของอากาศที่มีอยู่ในปอดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (nmol/L และ ug/dL) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และผู้ป่วยโรคหืดหลังจากที่ได้รับโปรแกรมหัวเราะบำบัดมีสมรรถภาพการทำงานของปอด (ร้อยละในการทำนาย  FEV1 / FVC) ซึ่งเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของอากาศที่มีอยู่ในปอดเพิ่มขึ้น และมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (nmol/L  และ  ug/dL) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดลดลง มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมหัวเราะบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ  .05  ตามลำดับ

คำสำคัญ : หัวเราะบำบัด โรคหืด คอร์ติซอล  สมรรถภาพปอด

 

The Effect of Laughter Therapy Program to Pulmonary Function Test and Cortisol Level in Asthma Patients

Abstract

The purposes of this research were to study the effect of Laughter Therapy Program to pulmonary function test and cortisol level in asthma patients.  The design of this study contained Pre- Post test control group design.  Sample group were 20 asthma patients, aging between 20-44  years old, who were treated at  Health Center, Chonlapratarn hospital, Nontaburi  Province. The result reported that after Laughter Therapy Program, the Pulmonary Function Test (percentage of FEV1/FVC) in treatment group was increased with statistically significant at 0.01 level while cortisol level was decreased with statistically significant at 0.05 level.  In addition, the comparison between treatment and control group, after laughter therapy program, indicated that the Pulmonary Function Test (percentage of FEV1/FVC) in treatment group was higher than that in control group, while cortisol level in treatment group was less than that in control group, with statistically significant at .01 level and .05  level

Keywords : Laughter therapy,  asthma,  cortisol,  pulmonary function test

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ดุษฎีเมธา จ. (2014). ผลของโปรแกรมการหัวเราะบำบัดที่มีต่อสมรรถภาพการทำงานของปอดและระดับคอร์ติซอลในผู้ปวยโรคหืด. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 5(2), 19–32. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/20650

Issue

Section

Research Articles