การพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคก้อนฝีหนองที่เกิดจากการติดเชื้อของท่อนำไข่และรังไข่: กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: โรคก้อนฝีหนองที่เกิดจากการติดเชื้อของท่อนำไข่และรังไข่ เป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่เกิดตามหลัง ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาล่าช้า ถ้าก้อนฝีหนองแตกจะเป็นภาวะฉุกเฉิน เพราะมีการรั่วไหลของหนองสู่ช่องท้องเกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต การเฝ้าระวังการแตกของก้อนฝีหนองและการพยาบาลเพื่อลดการติดเชื้อจะช่วยลดระยะเวลานอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลในผู้ป่วยที่เป็นโรคก้อนฝีหนองที่เกิดการติดเชื้อของท่อนำไข่และรังไข่
วิธีดำเนินการศึกษา: กรณีศึกษาใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคก้อนฝีหนองที่เกิดจากการติดเชื้อของท่อนำไข่และรังไข่ จำนวน 2 ราย ซึ่งเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรมโรงพยาบาลขอนแก่น ศึกษาโดยใช้แนวคิดกระบวนการพยาบาลและใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผนเป็นกรอบแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพ
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาที่ 1 พบข้อวินิจฉัยพยาบาลจำนวน 8ข้อ 1) มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องมีการแตกของก้อนฝีที่ท่อนำไข่ด้านขวา หนองรั่วไหลสู่ช่องท้องและติดเชื้อลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด 2)เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน หลังผ่าตัดเนื่องจากmorbid obesity และมีภาวะ obstructive sleep apnea 3)มีภาวะไตสูญเสียหน้าที่ลดลงอย่างเฉียบพลัน 4)มีภาวะไม่สมดุลของเกลื่อแร่ในร่างกายเนื่องจากอาเจียนและถ่ายเหลว 5)ปวดแผลผ่าตัด 6)แผลผ่าตัดแยกและติดเชื้อ Escherichia coli 7) เสี่ยงต่อภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง 8)ภาวะพร่องความรู้ในการดูแลตัวเอง กรณีศึกษาที่ 2 พบข้อวินิจฉัยพยาบาลจำนวน 4 ข้อ 1) มีภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุช่องท้องและท่อนำไข่ รังไข่ด้านขวา.มีภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุช่องท้องและท่อนำไข่ รังไข่ด้านขวา2)มีอาการปวดท้องด้านล่างขวา 3) มีภาวะไม่สมดุลของเกลื่อแร่ในร่างกายเนื่องจากอาเจียน 4) ภาวะพร่องความรู้ในการดูแลตัวเอง ถึงแม้กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย จะเป็นโรคเดียวกันแต่มีระดับความรุนแรงของโรคต่างกันกรณีศึกษาที่1 มีความรุนแรนจากภาวะติดเชื้อในกระเลือดมากกว่าเพราะมีการแตกของก้อนฝีหนองที่รังไข่ทำให้มีการรั่วไหลของหนองสู่อุ้งเชิงกรานและได้รับการผ่าตัดรวมเวลานอนรักษา 25 วัน กรณีศึกษาที่2 ไม่มีการแตกของก้อนฝีหนอง ได้รับยาฆ่าเชื้อแล้วตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ดีจึงไม่ต้องผ่าตัด รวมเวลานอนรักษา 6 วัน
ข้อเสนอแนะ: นำผลการศึกษาไปใช้จัดทำแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล การเฝ้าระวังติดตามอาการผิดปกติเพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในผู้ป่วยที่เป็นโรคก้อนฝีหนองที่เกิดจากการติดเชื้อของท่อนำไข่และรังไข่ต่อไป
คำสำคัญ: การพยาบาล,โรคก้อนฝีหนองที่เกิดจากการติดเชื้อของท่อนำไข่และรังไข่,อุ้งเชิงกรานอักเสบ,กอร์ดอน
*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น
References
เอกสารอ้างอิง
อธิภูมิ เทียมแก้ว, จารุวรรณ แซ่เต็ง. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID) [Internet]. [cited 2024 Dec 16]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/50322/
Tubo-Ovarian Abscess (TOA) [Internet]. Yale Medicine. [cited 2024 Dec 13]. Available from: https://www.yalemedicine.org/clinical-keywords/tubo-ovarian-abscess
Landers DV, Sweet RL. Tubo-ovarian Abscess: Contemporary Approach to Management. Reviews of Infectious Diseases. 1983 Sep 1;5(5):876–84.
Kirsty Munro, Gharaibeh A, Nagabushanam S, Martin C. Diagnosis and management of tubo-ovarian abscesses. The Obstetrician & Gynaecologist. 2018;20(1):11–9.
Luis H. Sordia-Hernández, Laura G. Serrano Castro, María O. Sordia-Piñeyro, Arturo Morales Martinez, Mary C. Sepulveda Orozco, Geraldina Guerrero-Gonzalez. Comparative study of the clinical features of patients with a tubo-ovarian abscess and patients with severe pelvic inflammatory disease. International Journal of Gynecology & Obstetrics. 2016;132(1):17–9.
สุวิทย์ จิตภักดีบดินทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
ความล้มเหลวในการรักษาแบบประคับประคองของผู้ป่วยก้อนหนองบริเวณปีกมดลูก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2553; 25(3): 279–92.
Kenneth Powers, George Lazarou, Greston WM, Mikhail M. Rupture of a tuboovarian abscess into the anterior abdominal wall: a case report. J Reprod Med. 2007;52(3):235–7.
Landers DV, Sweet RL. Current trends in the diagnosis and treatment of tuboovarian abscess.
American Journal of Obstetrics and Gynecology. 1985 Apr 15;151(8):1098–110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว