การพยาบาลทารกที่มีความผิดรูปของลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก: กรณีศึกษา 2 ราย

ความพิการแต่กำเนิดบริเวณทวารหนัก (Anorectal malformation) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งเกิดจากสาเหตุความบกพร่องทางพันธุกรรม หรือเป็นโรคติดเชื้อในครรภ์ ความพิการแต่กำเนิดบริเวณทวารหนักทำให้ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ ส่งผลให้เกิดการอุดตันและ/หรือติดเชื้อ ควรได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง ทารกต้องได้รับการเตรียมความพร้อมในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดและดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างปลอดภัย

ผู้แต่ง

  • บุณณดา ขาวงาม -

คำสำคัญ:

Nursing care of infants with terminal ileum and rectum malformations: a case study

บทคัดย่อ

ความพิการแต่กำเนิดที่มีความผิดรูปของลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก (anorectal malformation) เป็นความพิการซับซ้อนบกพร่อง3,4   คือ  มีลักษณะรูทวารหนักไม่เปิดออกสู่ภายนอกหรือเปิดแต่ไม่สมบูรณ์ (anorectal malformation) รูทวารปัสสาวะไม่เปิดสู่ภายนอกอย่างปกติ (hypospadias, exstrophy bladder) รูทวารหนักและปัสสาวะเปิดลงในอวัยวะเพศหรือช่องคลอด (cloaca) การดูแลรักษาทารกแรกเกิดมีความผิดรูปของลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก คือการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ส่วนผลกระทบภายหลังการผ่าตัด คือ การติดเชื้อลำไส้หลังผ่าตัด  รอยแผลผ่าตัดทวารตีบแคบ การติดเชื้อของรูทวารเทียม1 นอกจากนี้ยังเกิดผลกระทบต่อครอบครัว เนื่องจากอาการเจ็บป่วยของทารก การได้รับข้อมูล และคำแนะนำที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นพยาบาลจึงมีส่วนสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาลทุกระยะ ทั้งระยะรักษา และระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ดูแลหรือบุคคลในครอบครัว เพื่อให้ทารกได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 5,6

หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลขอนแก่นให้การรักษาพยาบาลทารกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 1 เดือน สถิติการให้บริการ ปี พ.ศ. 2564-2566 พบว่ามีผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่รับไว้ในในความดูแลมีจำนวน 882, 1,112, 1,171 ราย เป็นทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติบริเวณรูทวาร จำนวน 17, 12, 21 ราย และทารกแรกเกิดที่มีความผิดรูปของทวารหนักร่วมกับความพิการแต่กำเนิดชนิดอื่น จำนวน 10, 7, 13 ราย ตามลำดับ ทารกทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดรูปของทวารหนัก ต้องรักษาโดยการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง1,7ซึ่งการผ่าตัดจะมีทั้งแบบการแก้ไขความผิดปกติของรูทวาร (anoplasty) และการผ่าตัดแบบการทำรูทวารเทียม (colostomy)  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความผิดปกติบริเวณรูทวารของทารกแรกเกิดควรได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ถ้ามีความรุนแรงระดับต่ำสามารถเลือกผ่าตัด แก้ไขความผิดปกติของทวารหนัก (anoplasty) ได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ถ้ามีความรุนแรงระดับปานกลางหรือระดับสูงควรทำทวารเทียม (colostomy) ในระยะแรกเกิด และทำการผ่าตัดรูทวารหนักเมื่ออายุ 2-3 เดือน หรือน้ำหนักตั้งแต่ 4 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องได้รับการเตรียมความพร้องแก้เด็กและครอบครัวเพื่อให้พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ9

 ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีความพิการชนิดที่มีความผิดรูปของทวารหนัก  ในขั้นตอนการรักษาและการผ่าตัดระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดและดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างปลอดภัยโดยใช้องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาล ช่วยประคับประคองทารกแรกเกิด และครอบครัวของทารกแรกเกิดในการเผชิญกับปัญหา อาการเจ็บป่วย ช่วยให้ทารกแรกเกิดได้รับการดูแลรักษา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ดูแล เกี่ยวกับการดูแลและจัดการด้านการขับถ่ายของทารกแรกเกิด ให้การสนับสนุนด้านจิตใจและสังคม ให้คำปรึกษา 4

References

กาญจนา รุ่งแสงจันทร์, จุฬาพร ประสังสิต และยุวรัตน์ ม่วงเงิน. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้เปิด

ทางหน้าท้องประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่งจำกัด.

ขวัญจิต เพ็งแป้น. (2563). การดูแลทารกก่อนกำหนดที่ได้รับอาหารผ่านทางเดินอาหาร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9.15(36), 15-30.

จุฬาพร ประสังสิต กาญจนา รุ่งแสงจันทร์. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลาไส้และรูเปิดทางหน้าท้อง:

ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จากัด.

ปิยวรรณ เชียงไกรเวช. (2565). ลำไส้สั้น Short bowel. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี. (2566). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล ทวารเทียม และควบคุมการขับถ่ายทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 4.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2563). การพยาบาลเด็ก เล่ม 3. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพรสจำกัด.

ฟาริดา อิบราฮิม. (2546). ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.

สุจินดา ลดาสุนทร. (2562). ผลของโปรแกรมการ สื่อวีดิทัศน์ ช่วยสอนต่อความรู้และทักษะการดูแลทวารเทียมในญาติผู้ดูแลผู้มีทวารเทียมรายใหม่ .รามาธิบดีพยาบาลสาร. 25 (1), 19-23.

อัจฉริยา วงศ์อินทร์จันทร์. (2567). การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กาเนิดกรณีไม่มีรูทวารหนัก: รายงานผู้ป่วย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 47(4), 21-27.

อมรรัชช งามสวย และวรรณิตา สอนกองแดง. (2563). การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทสมาร์ทโคตรติ้งแอนด์เซอร์วิส จำกัด.

อัครพล มุ่งนิรันดร์. (2560). โรคทางศัลยกรรมเด็กที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติผู้ป่วยนอก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Askarpour S, Peyvasteh M, Kazemnia K, Javaherzadeh H. Comparison Outcomes of Divided

End Loop Versus Separate Double Barrel Colostomy in Neonates with Imperforate

Anus:Divided End Loop Versus Separate Double Barrel Colostomy in Imperforate

Anus. Iranian Journal of Pediatric Surgery 2021; 7(2):81-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-03

How to Cite

ขาวงาม บ. (2025). การพยาบาลทารกที่มีความผิดรูปของลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก: กรณีศึกษา 2 ราย: ความพิการแต่กำเนิดบริเวณทวารหนัก (Anorectal malformation) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งเกิดจากสาเหตุความบกพร่องทางพันธุกรรม หรือเป็นโรคติดเชื้อในครรภ์ ความพิการแต่กำเนิดบริเวณทวารหนักทำให้ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ ส่งผลให้เกิดการอุดตันและ/หรือติดเชื้อ ควรได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง ทารกต้องได้รับการเตรียมความพร้อมในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดและดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างปลอดภัย. วารสารทางการแพทย์และบริหารจัดการระบบสุขภาพ โรงพยาบาลขอนแก่น (Journal of Medicine and Health System Management of Khon Kaen Hospital), 2(4), 43–53. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/273302