การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง: กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้ายแบบประคับประคอง ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมครอบคลุมด้านจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยระยะท้าย และตายดีสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้าย
วิธีการศึกษา กรณีศึกษาผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการวินิจฉัยไตเรื้อรังระยท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง จำนวน 2 ราย วิเคราะห์การใช้กระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 รายในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย พบว่ามีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเหมือนกันทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่ 1) มีภาวะเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคไตเรื้อรังระยะท้าย 2) ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้ 3) ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลงเนื่องจากเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย จากภาวะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย 4) แบบแผนการนอนเปลี่ยนแปลงนอนไม่หลับเนื่องจากวิตกกังวลกับภาวะเจ็บป่วย 5) ความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากอ่อนเพลีย Last wish ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ขอเสียชีวิตที่บ้าน ส่วนการวินิจฉัยทางการพยาบาลที่แตกต่างกัน จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากมีภาวะการหายใจล้มเหลวจากพยาธิสภาพของโรคในผู้ป่วยรายที่ 2 ที่เป็นผู้สูงอายุ 81 ปี สมรรถนะเสื่อมถอยมีปัญหาการทำหน้าที่ของไตบกพร่อง และมีโรคเรื้อรังในระบบหัวใจและหลอดเลือด จึงเกิดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยรายที่ 1 ที่เป็นผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ วัยทำงาน เริ่มมีการเสื่อมถอยของสมรรถนะ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้รู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเอง คิดว่าเป็นภาระให้ครอบครัว มีความเครียดเหนื่อยล้าในบทบาทผู้ให้การดูแล
ผลลัพธ์การพยาบาลพบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไข และการตอบสนองความต้องการสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยทั้ง 2 ราย
การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้ายแบบประคับประคอง แนวทางการบรรเทาอาการทุกข์ทรมานในผู้ป่วยไตวายระยะท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้ายเข้ารับบริการพยาบาลการดูแลแบบประคับประคอง
คำสำคัญ การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะท้ายแบบประคับประคอง
*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น
References
เอกสารอ้างอิง
กิติพล นาควิโรจน์. การดูแลอาการหอบเหนื่อย (Dysnea) ในผู้ป่วยระยะท้าย. ใน:ดุสิต สถาวร.
The dawn of palliative care in Thailand. นนทบุรี:บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2556.หน้า 118-125.
กิตติกร นิลมานัต, ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ, เพ็ญพิชชา ถิ่นแก้ว. การดูแลแบบประคับประคองสำหรับโรค
ไตเรื้อรัง: ประเด็นและข้อเสนอแนะสู่การพัฒนา. วารสารสภาการพยาบาล 2564; 36(4):5-16.
กิตติกร นิลมานัต. การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2555.
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา,สาลี สาลีกุล,นิภาพร อภิสิทธิวาสนา, มณีรัตน์ เทียมหมอก. การวางแผนดูแล
รักษาตนเอง ล่วงหน้าเพื่อการตายดี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;
(3):138-145.
ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, อัจฉรียา ปทุมวัน, สมทรง จุไรทัศนีย์, อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. ผลของโครงการ
อบรมการ ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ
พยาบาล. รามาธิบดี พยาบาลสาร 2554; 17(1): 126-140.
ชัชวาล วงค์สารี. บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้าเกินของผู้ป่วยโรคไตวาย
เรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารเกื้อการุณย์ 2558; 22(2): 30-39.
ชัชวาล วงค์สารี, จริยา กฤติยาวรรณ. การให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อบำบัดภาวะน้าเกินในผู้ป่วยโรคไตวาย
เรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: บทบาทพยาบาลไตเทียม. วารสาร มฉก.วิชาการ
; 21(41): 137-150.
ทวี ศิริวงศ์. Renal palliative care in practice. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(Suppl): 1-6.
ปานจันทร์ ฐาปนกุลศักดิ์. การวางแผนการดูแลรักษาล่วงหน้า: ประเด็นสำคัญในการดูแลแบบ
ประคับประคองในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563; 43(3): 12-23.
เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ. การแบ่งปันประสบการณ์การดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย.
วารสารพยาบาลศาสตร์ 2556; 31(3): 18-26.
แพรวพรรณ ปราโมช ณ อยุธยา, สุปรีดา มั่นคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแล
ผู้ป่วยระยะ สุดท้ายต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะในตนเองของพยาบาลวิชาชีพ. รามาธิบดี
พยาบาลสาร 2554; 17(1): 141-156.
มีด๊ะ เหมมาน, กิตติกร นิลมานัต, เยาวรัตน์ มัชฌิม. ประสบการณ์ผู้ดูแลหลักมุสลิมในการดูแลผู้ป่วยไต
เรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสาร
พยาบาลทหารบก 2560; 18 (ฉบับพิเศษ): 185-193.
วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ, เพชรลดา จันทร์ศรี. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำ
เกินของผู้ป่วยโรค ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัย
และพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563; 6(2): 5-20.
ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ, ธาวินี ช่วยแท่น, เพ็ญพิชชา ถิ่นแก้ว, กิตติกร นิลมานัต, กัลยา แซ่ชิต. ผลของ
โปรแกรมการ อบรมการดูแลแบบประคับประคองต่อสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของ
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล ชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563;
(2): 122-132.
สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย. การประชุมวิชาการสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายหัวข้อ Palliative
Care in End-Stage Renal Disease[ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564 ].จาก
http://www.thaps.or.th/wpcontent/uploads/2017/07/Proposal-THAPS-Conf-2017_PC-
in-End-Stage-Renal-Disease-1.pdf
สุภาพร ไชยวัฒนตระกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้าเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่
ฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการ
สาธารณสุขชุมชน 2561; 1(2): 131-146.
อรนุช มกราภิรมย์, อันธิกา คะระวานิช. ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายต่อการรับรู้
สมรรถนะตนเอง ของพยาบาลวิชาชีพและการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวม. วารสารศูนย์
การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2558; 32(4): 348-363.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว