ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

Main Article Content

สุนันทา ศรีมาคำ
จรัสศรี ธีระกุลชัย
จันทิมา ขนบดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยใช้กรอบแนวคิด
คุณภาพชีวิตของเฟอร์ราน กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนในไตรมาสแรกที่ฝากครรภ์โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จำ นวน 85 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียด แบบประเมินอาการคลื่นไส้ อาเจียน แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ และแบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ( = 94.19, S.D = 12.64) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเครียด ความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียน แรงสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = .24, -.48, -.43, .40, และ .36, p < .05 ตามลำดับ) ส่วนรายได้ครอบครัว และการวางแผนการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ พยาบาลควรประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในไตรมาสแรก

Article Details

How to Cite
1.
ศรีมาคำ ส, ธีระกุลชัย จ, ขนบดี จ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ที่มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์. KJN [อินเทอร์เน็ต]. 19 ธันวาคม 2018 [อ้างถึง 5 เมษายน 2025];25(2):36-50. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/161020
บท
บทความวิจัย