Selected Factors Associated with Supportive Care Needs in Person with Liver and Intrahepatic Bile Duct Cancer
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย คัดสรรกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสำรวจความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน แบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย แบบวัดระดับสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแลหลัก และแบบสอบถามอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งจำแนกเป็นด้านความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความ
ต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24, S.D = 0.78) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า ความถี่ ความรุนแรง ความทุกข์ทรมานจากอาการ และความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r = .36, .29, .24 และ .28 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้วางแผนให้การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ