ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่: ประสบการณ์ของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและมุมมอง ที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประสบการณ์และมุมมองของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 วัยผู้ใหญ่ ที่ได้รับการวินิจฉัย
จากแพทย์มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี อายุระหว่าง 21 ปี – 59 ปี จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้วิธีวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ประสบการณ์ และมุมมองของการเป็นผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ประสบการณ์ทางลบที่รุนแรงที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และเป็นประสบการณ์ ตรงมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การสูญเสียอวัยวะ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ครอบครัวเดือดร้อน และ ต้องสูญเสียชีวิตที่กำลังรุ่งเรืองของตนเอง ส่วนมุมมองของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผู้ป่วยมีมุมมอง 3 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1 โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่รุนแรง ประเด็นที่ 2 โรคเบาหวานทำให้ชีวิตยุ่งยาก และประเด็นที่ 3 กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้จะมีมุมมองว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ต้องเกิดจาก การพึ่งพาตนเอง ส่วนที่ 2 มุมมองที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่ โดยพบข้อมูลที่อธิบายมุมมองมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุภาพ ใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 มุมมองในการรับข้อมูลและการนำข้อมูลทางสุขภาพไปใช้ในการดูแลตนเองในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้น ผู้ป่วยมีมุมมองว่าการนำข้อมูลมาใช้ในการดูแลตนเอง ต้องผ่านการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลเสียก่อน ตรงข้ามกับกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีมุมมองว่าข้อมูลสุขภาพจากคนที่เคยใช้แล้วเล่าว่าได้ผลดี หรือเป็นข้อมูลบุคคลที่มีชื่อเสียง สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้โดยไม่ต้องตรวจสอบ ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกับความรู้เกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยเช่นกัน โดยผู้ป่วยที่มีความรู้ในการดูแลตนเองก็จะทำให้มี การคิดวิเคราะห์เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพเหล่านั้นก่อนนำมาใช้ในการปฏิบัติ ประเด็นที่ 2 การสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการสุขภาพและผู้ป่วยในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ให้ข้อมูลมีมุมมองว่า 1) ต้องใช้เวลาในห้องตรวจอย่างคุ้มค่า 2) แพทย์มีหน้าที่ ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยมีหน้าที่ดูแลตนเอง 3) การสื่อสารที่เป็นกันเองและไม่เร่งรีบทำให้กล้าพูดกล้าถาม สำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการสุขภาพและผู้ป่วยในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ผู้ให้ข้อมูลมีมุมมองว่า แพทย์เป็นผู้ที่มีระดับชนชั้นทางสังคมที่สูงกว่า และแพทย์เป็นบุคคลที่ต้องเกรงใจและน่ากลัว โดยลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น จากมุมมองดังกล่าว ส่งผลต่อรูปแบบการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ คือสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วยการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน
Article Details
References
Baker, D.W., Gazmararian, J.A., Williams, M.V., Scott, T., Parker, R. M., Green, D., Ren, J. Peel, J. (2002). Functional health literacy and the risk of hospital admission among Medicare managed care enrollees. American Journal of Public Health, 92(8), 1278-83.
DeWalt, D. A., Berkman, N. D., Sheridan, S., Lohr, K. N., & Pignone, M. P. (2004). Literacyand health outcomes: A systematic review of the literature. Journal of General
Internal Medicine, 19(12), 1228–1239.
Institute of Medicine Committee. (2004). Health literacy: A prescription to end confusion April 8, 2004 Report.
Ishikawa, H., Takeuchi, T. & Yano, E.(2008). Measuring functional, communicative, and critical health literacy among diabetic patients. Diabetes Care. 31(5), 874-879
Kitchenham, A. (2008). The evolution of John Mezirow’s transformative learning theory. Journal of Transformative Education, J16/27, 103 -123.