ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช English
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความรู้ ทัศนคติและความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพมีความสำคัญต่อการพัฒนาวิชาชีพพยาบาลไทย การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่เริ่มปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2556 ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนในแต่ละหอผู้ป่วยแล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 269 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและการเตรียม ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คำนวณค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00, 0.93
และ 0.90 ตามลำดับและนำมาหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่า ความเชื่อมั่น 0.75, 0.80 และ 0.95 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวม อยู่ในระดับน้อย (x = 4.99, S.D = 1.68) ทัศนคติต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาล
วิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.65, S.D = 0.42) และการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 3.10, S.D = 0.56) ความรู้และทัศนคติกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพยาบาลวิชาชีพ
Article Details
References
กระทรวงการต่างประเทศ. (2553). แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน.กรุงเทพฯ: เพจเมคเกอร์.
จุไรรัตน์ แสงบุญนำ. (2556). การเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเข้าร่วมประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.ttc.most.go.th/online/F1/
ASEAN/กระทรวงศึกษาธิการ.pdf.
ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
นิโลบล ปางลีลาศ. (2556). การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน.กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.
บุญทิวา สู่วิทย์ และเสาวลักษณ์ ทำมาก. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 84-99.
พรทิวา คงคุณ. (2555). ความรู้ ทัศนคติ และความพร้อมต่อการเป็นประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารการพยาบาลและการศึกษา,
5(2), 38-50.
วิจิตร ศรีสุพรรณ, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ, และกฤษฎา แสวงดี. (2555). การเตรียมความพร้อมของวิชาชีพพยาบาลเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสภาการพยาบาล, 27(3), 5-10.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2556). โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. เอกสารประกอบการประชุม. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2556,
จาก http://www.khaothaphraschool.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). เมื่อพยาบาล (อาเซียน) ไร้พรมแดน. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.nic.go.th/gsic/uploadfile/nurse-aec.pdf.
สุพจน์ หุตายน. (2556). การเตรียมการเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.senate.go.th/km_ senate2 /knowledge/2555/KM%20206.pdf.
สุพัตรา วัชรเกตุ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก. 14(2), 79-87.
Association of Southeast Asian Nations. (2011). The ASEAN Charter. Retrieved March 16, 2013, from http://www.asian.org.
Bloom, Engelhart, Furst, Hill & Krathwohl. (1956). Bloom’s taxonomy-Learning domains. Retrieved June 11, 2013, from http://www.businessballs.com/ bloomstaxonomyoflearningdomains.htm.
Bloom. (1975). Bloom’s taxonomy. Retrieved April 14, 2013, from http://digital_collect.lib.buu.ac.th/ Dcms.
Delton, C. and Gottlieb, L.N. (2003). “The concept of Readiness to Change.” Journal of Advanced Nursing, 42(2), 108-117.
Olson & Mary, A. (2012). “English-as-a-second language (ESL) nursing student success: A critical review of the literature. Journal of Cultural Diversity. 19(1), 26-32.