การศึกษาการปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข* A Study of Professional Nurses Autonomy in Hospitals and Medical Centers, Ministry of Public Health

Main Article Content

วิภาวี พงษ์ทอง
วาสินี วิเศษฤทธิ์

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงาน การอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง หน่วยงานที่ปฏิบัติ และระดับการได้รับการนิเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 431 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการได้รับการนิเทศจากหัวหน้างานและแบบสอบถามการปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ผู้วิจัยสร้างตามแนวคิดเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลของซูเซ็นโซเฟอร์ บอลลูน ปาคเกอร์ และบราวน์ ร่วมกับการสัมภาษณ์พยาบาล วิชาชีพหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ จำนวน 10 คน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีค่าความตรงตามเนื้อหาเทา่ กับ .81 และ .85 ตามลำ???? ดับ และผ่านการทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .94 และ .90 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.99, SD = 0.42) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการปกป้องและปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วย (X=4.26, SD = 0.58)ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดและอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านการพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (X=3.48, SD = 0.51) 2. พยาบาลวิชาชีพที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงาน และระดับการได้รับการนิเทศที่ต่างกัน มีการปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านหรือไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางและพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่แตกต่างกัน มีการปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลไม่แตกต่างกัน

The purposes of this descriptive research were to study of professional nurses autonomy in hospitals and medical centers, ministry of public health, classified by education level, work experience, special program training, work position, department of working, and level of supervision by head of unit. The sample was 431 professional nurses who were selected using multi-stage sampling technique. Applied tools to collect data include questionnaire based on level of supervision and nursing autonomy concept developed by Schutzenhofer Ballou, Parker and Brown. The questionnaire was developed and associated with the result of in-depth interviewing in issue of nursing professional autonomy with 10 professional nurses. These instruments had been verified on content consistency from experts which indicated with .81 and .85 content validity index (CVI) and the coefficient alpha Cronbach was .94 and .90 respectively. Data was statistically analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. Major finding were as follows: 1. professional nurses’ autonomy in hospitals and medical centers was found at good level (X= 3.99, SD = 0.42) Aspect of protecting the patient right was found at the highest level (X= 4.26, SD = 0.58), while aspect of quality development, innovation and technology was found at lowest level (X= 3.48, SD = 0.51). 2. nurses with difference educational level, work position and level of supervision perceived their professional autonomy level differently, statistically significant at 0.5. While nurses with special program trained, and nurses worked in different department perceived their professional autonomy level indifferently.

Article Details

How to Cite
พงษ์ทอง ว., & วิเศษฤทธิ์ ว. (2017). การศึกษาการปฏิบัติตามเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข* A Study of Professional Nurses Autonomy in Hospitals and Medical Centers, Ministry of Public Health. Kuakarun Journal of Nursing, 24(1), 86–101. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/95197
Section
Research Articles