กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล* Management Strategies to Enhance Action Learning Abilities of Instructors in Nursing Schools

Main Article Content

รุจิรา สืบสุข
วลัยพร ศิริภิรมย์
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาลใน 3 ประเด็น 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหาร 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ สถาบันการศึกษาพยาบาล 26 แห่งผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลจำนวน 366 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .85 และหาความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) จุดแข็งของการบริหาร คือ การวางแผนและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาจากการทำงาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงาน จุดอ่อน คือ การนำแผนสู่การปฏิบัติและการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติและพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของบุคคลและองค์กร โอกาส คือ สภาพสังคม และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ สภาพการเมืองและนโยบายของรัฐ และสภาพเศรษฐกิจ 3) กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล มี 3 กลยุทธ์ คือ 3.1) ออกแบบและวางแผนการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ โดยกำหนดให้อาจารย์ทำแผนการพัฒนา การเรียนรู้เป็นรายบุคคล เพื่อให้อาจารย์มีเป้าหมาย วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง 3.2) ยกระดับการปฏิบัติการในการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ โดยผู้บริหารและอาจารย์ร่วมกันสร้างระบบกลุ่ม/ชุมชนนักปฏิบัติและใช้กระบวนการของการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญของกลุ่ม 3.3) ยกระดับการประเมินการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ โดยสถาบันมีการกำหนดเกณฑ์ ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการเรียนรู้จากการปฏิบัติในทุกกิจกรรม/พันธกิจหลักของสถาบัน ในทุกมิติอย่างสม่ำเสมอ

The purposes of this research were to enhance action learning abilities of instructors in nursing school in 3 issuse 1) to study the current and the desirable states of management. 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats of management. 3) to develop strategies for management. This research method was mixed methods. The twenty-six nursing schools were used as research sample. The three hundred and sixty six administrators and nursing instructors were informants. The research instruments were questionnaire and assessment tool. The questionnaire was tested for content validity by 5 experts which indicated with .85. Index of item objective congruence and the coefficient alpha of Cronbach was .94. The frequency, percentage, average, standard deviation, PNImodified were used for data analysis. The research findings showed that 1) the overall of the current state of management was at the moderate level. The overall of the desirable states of management was at the highest level. 2) The strengths of management were planning for action learning, action learning for problem solving, and action learning for learning from learning process through work experience. Weaknesses were implementing and evaluating for action learning, action learning for personal learning ability, personal and organizational learning transformation. The Opportunities were social condition and technology while the threats were the government policy and economic condition 3) Management strategies to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools were 1) to design and plan to strengthen action learning for personal and organizational learning transformation by making individual plan include goals, methods and timeline for continuous improvement,. 2) to implement efficiency to strengthen action learning for personal and organizational learning transformation by administrators and committee provide group, professional learning community to use action leaning process for group’s expertise. 3) to increase evaluation efficiency to enhance action learning for personal and organizational learning transformation by identify criteria-outcome-indicator of action learning

Article Details

How to Cite
1.
สืบสุข ร, ศิริภิรมย์ ว, ศิริบรรณพิทักษ์ พ. กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล* Management Strategies to Enhance Action Learning Abilities of Instructors in Nursing Schools. KJN [Internet]. 2017 Aug. 1 [cited 2025 Jan. 5];24(1):7-27. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/95189
Section
Research Articles