ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พัชรวรรณ ศรีคง
นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Abstract

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ  เพศ การรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม กับการจัดการตนเองในการควบคุมอาหาร  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย วัยผู้ใหญ่ จำนวน 132 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่มารับบริการที่คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลรัฐประจำจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค แบบประเมินภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .78, .86, .84, .77, .82, และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test สถิติสหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง     ( = 38.64, SD = 9.45)

2. การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .525, .436 และ .369 ตามลำดับ) ขณะที่การรับรู้อุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับการจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.389)

3. เพศและภาวะซึมเศร้า ไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองการในควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย

 

The purposes of this descriptive correlational study were to examine the dietary control self-management among heart failure patients, Lower Northeast and to investigate the relationships between sex, perceived heart failure’s severity, perceived benefits, perceived barriers, depression, social support, and dietary control self-management. One hundred and thirty-two out-patients in adults, were recruited in the cardiology clinic at the province hospitals, by a multistage random sampling. Questionnaires were composed of demographic information, perceived heart failure’s severity, perceived benefits, and perceived barriers, depression assessment, social support, and dietary control self-management questionnaire. All questionnaires were tested for content validities by five panel of experts, and the reliabilities were .78, .86, .84, .77, .82, and .86, respectively. Descriptive statistics (e.g., frequency, percent, mean, and standard deviation), t-test, Biserial correlation coefficient, and Pearson’s Product Moment Correlation were used to analyze data. The major findings were as follows:

1. Mean score of self-management on dietary control among heart failure patients was at a moderate level ( = 38.64, SD = 9.45).

2. There were positively significant relationships between social support, perceived benefits, perceived heart failure’s severity on self-management and dietary control among heart failure patients at the level of .05 (r = .525, .436, and .369, respectively). Whereas, there was negatively significant relationship between perceived barriers and dietary control self-management among heart failure patients at the level of .05 (r = -.389). And there was no significant relationship between sex, depression and dietary control self-management among heart failure patients.

Article Details

How to Cite
ศรีคง พ., & เอื้อกิจ น. (2013). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Kuakarun Journal of Nursing, 18(1). Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/732
Section
Research Articles