ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือน Factors Related to Preventive Behaviors For Cardiovascular Disease in Premenopausal Cleaning Personnel

Main Article Content

เมธิกานต์ ทิมูลนีย์
สุนิตา ปรีชาวงษ์

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลเมื่อปฏิบัติพฤติกรรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค (The Protection Motivation Theory ของ Roger (1983) เป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือนจำนวน 123 คนโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience) ตามคุณสมบัติที่กำหนดจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในการเลือกโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือนในภาพรวมอยู่ในระดับดีได้แก่ ด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการความเครียดอยู่ในระดับดีนอกจากนี้พบว่าการรับรู้ความรุนแรงของโรคการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.22, 0.20, 0.45; p – value < 0.05) ดังนั้นในการ ศึกษาครั้งต่อไปควรนำตัวแปรที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มาจัดทำเป็นโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มพนักงานทำความสะอาดเพื่อก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อเนื่องต่อไป

Factors Related to Preventive Behaviors For Cardiovascular Disease in Premenopausal Cleaning Personnel

The purpose of this descriptive, correlational study was to examine the cardiovascular preventing behaviors in premenopasal cleaning personnel and the relationships between perceived noxiousness, perceived probability, perceived response efficacy, perceived self-efficacy, and cardiovascular preventing behaviors in premenopasal cleaning personnel. The Protection Motivation Theory (Roger, 1983) was used as theoretical framework of this study. Using simple random sampling technique to choose the hospitals then choosing the participants by (convenience) were 123 premenopausal cleaning personnel working in three super-tertiary care hospitals. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product moment correlation.

The results show that overall the majority of the participants had good cardiovascular preventing behaviors which consist of food consumption behaviors, exercise behaviors, and stress management behaviors. The study also found that perceived severity and susceptibility of the disease, and perceived self-efficacy were significantly correlated with cardiovascular preventing behavior in premenopasal cleaning personnel (r = 0.22, 0.20, 0.45; p - value < 0.05). Therefore next study should take variables which have correlation with the cardiovascular preventing behaviors into consideration in order to conduct health promotion programs for premenopasal cleaning personnel so that they will be able to adjust their behaviors to a better way continuously.


Article Details

How to Cite
ทิมูลนีย์ เ., & ปรีชาวงษ์ ส. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือน Factors Related to Preventive Behaviors For Cardiovascular Disease in Premenopausal Cleaning Personnel. Kuakarun Journal of Nursing, 23(1), 118–132. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/62403
Section
Research Articles