การพัฒนาระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข The Development of Coaching System for Professional Nurses at a Specialty Hospital in the Department of Medical Services under the Ministry of Public Hea
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่ส่งผลต่อระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพ และนำไปสู่การพัฒนาระบบการสอนสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใหม่ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพยาบาล กิจกรรมการพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้ระบบการสอนงาน และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อระบบการสอนงานก่อนและหลังการใช้ระบบการสอนงานการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาระบบการสอนงานและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาล 2) โปรแกรมระบบการสอนงานเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานพยาบาลการสอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพยาบาล ผ่านการหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.97 และค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 3) โปรแกรมระบบการสอนงานเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานพยาบาล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 11 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติงานพยาบาลกิจกรรมการพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้ระบบการสอนงานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นด้วยสถิติ Wilcoxon matched-pairs signed –rank ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาสภาพ และปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบการสอนงาน มีกิจกรรมการพยาบาลในกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานใหม่ และกิจกรรมการพยาบาลที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ คือ การรับใหม่ผู้ป่วย การประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาท การให้สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำ และการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้บการเจาะน้ำไขสันหลัง ระดับความพึงพอใจต่อระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพก่อนการใช้ระบบการสอนงาน อยู่ในระดับมาก (X = 4.02, SD = 0.52) ระดับความพึงพอใจต่อระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้ระบบการสอนงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.76, SD = 0.36) ระดับความพึงพอใจต่อระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้ระบบการสอนงานสูงกว่าระดับความพึงพอใจก่อนการใช้ระบบการสอนงาน (Z = -2.847, P<.004) ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานพยาบาลใหม่หลังจากที่เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ทั้ง 4 กิจกรรม ดังนี้ การรับใหม่ผู้ป่วย (Z = 120, P<.034) การประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาท (Z = -2.207, P<.027) การให้สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำ (Z = -2.873, P<.004) และการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะน้ำไขสันหลัง (Z = -2.207, P<.027)
The Development of Coaching System for Professional Nurses at a Specialty Hospital in the Department of Medical Services under the Ministry of Public Health*
This research aimed to study the factors which affected coaching system of
professional nurses and develop the coaching system for new nurses practitioners, and to compare the performance of new nurse practitioners and nursing activities before and after the use of coaching system, and to compare satisfaction on coaching system before and after the use of coaching system. The operation is divided into two phases were: 1) Studying about coaching system that affected the nursing practice. 2) Coaching program to developed the nursing practice. The research samples of eleven professional nurses were randomly selected at a specialty hospital in the Department of Medical Services under the Ministry of Public Health. The research tools were: 1) performance appraisal which was validated by five experts. Its content validity index was 1.00, and 2) satisfaction on a set of coaching system questionnaires. Its content validity index was 0.97 and the reliability coefficient was 0.94. The data analysis was done by frequency, percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon matched-pairs signed–rank test.
The research found that studying in factors which affected the coaching
system were: nursing activities in new nurses practitioners and nursing activities
to be performed regularly as follows: accepting new patients, neurological
examination, dose of intravenous fluids and lumbar puncture. Before using the
system, satisfaction on coaching system was at a high level (X = 4.02, SD = 0.52), but after the use of coaching system, satisfaction with the coaching system of nurses was at the highest level (X = 4.76, SD = 0.36). After the use of coaching system, professional nurses felt highly satisfied on coaching system (Z = -2.847, P<0.004). The performance of all four activities of new nurse practitioners after joined the program higher than before joined the program as follows: accepting new patients (Z = 120, P<.034), neurological examination (Z = -2.207, P<.027), dose of intravenous fluids (Z = -2.873, P<.004) and lumbar puncture (Z = -2.207, P<.027).