การศึกษาการตระหนักรู้ในพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น The Study of the Awareness of Sexual Risk Behaviors and Sexual Risk Behaviors of Adolescent Students
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น ตามตัวแปรเพศ ระดับการศึกษาการมีคู่รัก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่านิยมทางเพศ อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนต่อพฤติกรรมทางเพศกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร จำนวน 344 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูล 2) แบบประเมินการตระหนักรู้ในพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 3) แบบสอบถามค่านิยมทางเพศ 4) แบบสอบถามอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนต่อพฤติกรรมทางเพศ และ5) แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่นวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า
1. การตระหนักรู้ในพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเสี่ยง
ทางเพศของนักเรียนวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.27, p<0.001)
2. นักเรียนวัยรุ่นที่มีเพศ คู่รัก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่านิยมทางเพศและ ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนวัยรุ่นที่มีชั้นปีที่ศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Study of the Awareness of Sexual Risk Behaviors
and Sexual Risk Behaviors of Adolescent Students
The purposes of descriptive research were to study the relationship between
the awareness of sexual risk behaviorsand sexual risk behaviors of adolescent
students, and to compare the sexual risk behaviors of adolescent students by
gender, education level, sweetheart’s number, achievement, sexual value, and
the influence of the friendship group. The research sample of 344 seventh through twelfth grade students in secondary school for the academic year 2014, Dindang district Bangkok was selected by simple random sampling. The research
instruments are: 1) demographic questionnaire 2) evaluation form of
the awareness of sexua lrisk behaviors 3)questionnaire about sexual value
4) questionnaire about the influence of the friendship group and 5) evaluation
form of sexual risk behaviors. They were used for data collections which are
subsequently analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variances.
The results of this study were presented as follow:
1. The awareness of sexual risk behaviors was negatively correlated with
sexual risk behaviors of adolescent students (r=-.27, p<0.001).
2. There were significant difference at .05 level in sexual risk behaviors among
adolescent students who had gender, sweetheart’s number, level of education,
sexual value and the influence of the friendship group difference.
3. There were no significant difference at .05 level in sexual risk behaviors
among adolescent students who had different level of education.