การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ: ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ผสมผสานการใช้ยา ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และอาการชาเท้า ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

เกศกนก นวลเศษ
ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์
นพวรรณ เปียซื่อ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการ
นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ผสมผสานการใช้ยาต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม
และอาการชาที่เท้าของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการศึกษาจากโครงการ “ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มโรคอ้วนลงพุง ด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ผสมผสานการ
นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า” ของผศ.ดร.ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์และคณะ โดยนำ
ข้อมูลทุติยภูมิบางส่วนมาวิเคราะห์ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและ
หลังการทดลอง คัดเลือกตัวอย่างจำนวน 15 คนเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมฯ
จำนวน 5 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์ และนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าด้วยตนเองทุกวัน
เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ร่วมกับการใช้ยาตามปกติ ขณะที่กลุ่มควบคุมจำนวน 15 คนได้รับ

การพยาบาลร่วมกับการใช้ยาปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย Fisher’s Exact Test,
Paired t-test, Independent t- test, Wilcoxon signed-ranks test และ Mann
Whitney-U test
ผลการศึกษาพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และอาการชาที่เท้า
ของกลุ่มทดลองหลังทดลองสัปดาห์ที่ 12 น้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001,
p<.01 และ p<.01 ตามลำดับ) ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และอาการชา
ที่เท้าของกลุ่มทดลองสัปดาห์ที่ 12 น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01, p<.01
และ p<.001 ตามล�าดับ) ระดับน้ำตาลในเลือดสัปดาห์ที่ 16 ของกลุ่มทดลองซึ่งไม่มีบุคลากร
ทางการพยาบาลดูแลพบว่าไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่ 12 แสดงให้เห็นว่า ผลของโปรแกรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ผสมผสานการใช้ยายังคงส่งผลให้ผู้ที่
เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ อย่างไรก็ตาม
ควรมีการจัดกิจกรรมเป็นระยะเพื่อเป็นการกระตุ้น และควรมีการศึกษาติดตามในระยะยาวต่อไป
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า
ผสมผสานการใช้ยา สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และอาการชา
ที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เป็นการผสมผสานและเติมเต็มระหว่างการแพทย์ตะวันออก
และการแพทย์ตะวันตกเข้าด้วยกัน นำไปสู่การบูรณาการในการดูแลแบบองค์รวมเพื่อลดอัตรา
การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไป

Secondary Data Analysis: Effects of Behavioral
Modification Program and Foot Reflexology Integrated
with Medication Use on Blood Sugar, Hemoglobin A1C
and Numbness in Persons with Type 2 Diabetes Mellitus

This research aimed to study the effects of a behavioral modification
program and foot reflexology integrated with medication use on blood sugar,
hemoglobin A1C (HbA1C) and numbness in persons with type 2
diabetes mellitus. The study of the project “Changing Risk Behaviour in
Metabolic Syndrome Group by Diet Control, Exercise and Foot Reflexology” of
Assoc. Prof. Dr. Ladaval Ounprasertpong Nicharojana et al. In this study, the
researcher used partially analyzed secondary data . This study is a quasi-experimental research with a two group pretest-posttest control group design.

Selected samples of the qualifying criteria 15 samples in the experimental group,
which has been in the program for five sessions at two-week intervals and daily
foot reflexology over a period of twelve weeks was integrated with regular
medication use. A control group of 15 samples received routine nursing care and
medication use only. The data was analyzed by using descriptive statistics,
Fisher's Exact Test, Paired t-test, Independent t- test, Wilcoxon signed-ranks test
and Mann Whitney-U test.
The study result found blood sugar level, HbA1C and numbness of the
experimental group at week 12 less than the pre-test levels with
statistical significance (p<.001, p<.01 and p<.01 respectively). The blood sugar
level, HbA1C and numbness at wk 12th of the experimental group were less
than those in the control group with statistical significance (p<.01, p<.01 and
p<.001 respectively). The mean of blood sugar level of the experimental group
at wk 16th which nursing personnel did not coach, found the blood sugar level
was not different from wk 12th, indicating that the effects of behavioral
modification program and foot reflexology integrated with medication use to
provide the persons with type 2 diabetes mellitus can control blood sugar level
to remain good. However it should have regular activities in order to stimulating
and should be monitored in the long term. This study indicates that the
behavioral modification program and foot reflexology integrated with medication
use can reduce blood sugar level, HbA1C and numbness in persons with type 2
diabetes mellitus. This study is a kind of integrated medicine for using foot
reflexology complement with medication use and behavioral modification
to fulfill holistic care. The aim was reduce to the incidence of long term
complications and lead to good quality of life for persons with type 2 diabetes
mellitus.

Article Details

How to Cite
นวลเศษ เ., อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ ล., & เปียซื่อ น. (2016). การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ: ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ผสมผสานการใช้ยา ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และอาการชาเท้า ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 156–173. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/46865
Section
Research Articles