การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่อง ช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการ พยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์

Main Article Content

บังอร นาคฤทธิ์
อำภาพร นามวงศ์พรหม
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) ชนิด before and
after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลัก
ฐานเชิงประจักษ์ต่อการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและ ระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจใน
ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใส่เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวิกฤตทาง
อายุรกรรม ทั้งหมด 114 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็น 2กลุ่มคือ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ
การพยาบาลจำนวน 57 ราย ที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิมของโรงพยาบาลและกลุ่มที่ใช้
แนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 57 ราย ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจาก
หลักฐานเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการประเมินระดับความรู้สึกตัว แนวปฏิบัติการ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แนวปฏิบัติการประเมินภาวะกระสับกระส่ายและแนวปฏิบัติ
ในการผูกยึดผู้ป่วย
แนวปฏิบัติในการผูกยึดท่อช่วยหายใจ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน
แบบบันทึกข้อมูลการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบการเลื่อน 

หลุดของท่อช่วยหายใจ ระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติไคร์สแควร์และเปรียบเทียบระยะเวลา
การใส่เครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติแมน-วิทนีย
ผลการวิจัยพบว่า การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนว
ปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ต�่ากว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล
อย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่
สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจ (Mean = 3.77, SD = 2.27)
ต�่ากว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล (Mean = 6.28, SD = 3.80) อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .001

 

Unplanned Extubation and Duration of Mechanical
Ventilation in Critically Ill Patients on Evidenced
Based Nursing Practice

 

The purpose of this before and after intervention study aimed to examine the effectiveness of evidence-based nursing protocol on unplanned extubation and duration of mechanical ventilation in critically ill medicine patients. A purposive sample were 114 patients, 57 in before and 57 after group. The before group received a usual care. The after group received the evidence-based nursing protocol comprising . Level of consciousness assessment guideline; Giving essential information regarding treatment; Agitation assessment guideline; Restrain assessment guideline; guideline for securing the endotracheal tube. Data were collected by using the biographic and unplanned extubation recording forms. Chi-square test was used to compare the unplanned extubation rates of the 2 groups. Mann -Whitney U Test was used to compare the duration of mechanical ventilation. The results of this study showed that the rates of unplanned extubation of the after group were significantly lower than of the before group (p < .001) duration of mechanical ventilation (Mean = 3.77, SD = 2.27) of the after group was significantly lower than (Mean = 6.28, SD = 3.80) of the before group (p < .001).

Article Details

How to Cite
นาคฤทธิ์ บ., นามวงศ์พรหม อ., & ภักดีวงศ์ น. (2016). การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่อง ช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการ พยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 129–143. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/46863
Section
Research Articles