ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการนวดแบบสวีดิชต่อ ความปวดในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งปอด
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความปวดในผู้ป่วยสูงอายุ โรคมะเร็งปอดก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการนวด แบบสวีดิช ศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบูรบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดที่มีความปวด ผู้ป่วยนอก แผนกรังสี รักษาและมะเร็งวิทยา และแผนกอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 26 คน ดำเนินโปรแกรมโดยผู้วิจัยสอนให้ญาติผู้ดูแลหลักนวดให้ผู้สูงอายุที่บ้าน วันละ 1 ครั้ง เวลา ในการนวด 30 นาที นวด 3 วันติดต่อกัน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ แผนการสอน คู่มือและดีวีดี เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน ความปวดชนิดตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและ การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังเสร็จสิ้น โปรแกรมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดระหว่างเข้าร่วมโปรแกรม น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความปวด ก่อนเข้าร่วมเท่ากับ 3.83 เมื่อเข้าร่วมโปรแกรมค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดลดลงตั้งแต่สัปดาห์แรก โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดเท่ากับ 2.10, 1.77, 1.38, 1.04 และ 0.71 ตามลำดับ และ หลังเสร็จสิ้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดเท่ากับ 0.31
The Effect of Nursing Process Combined with Swedish
Massage on Pain in older Persons with Lung Cance